สาเหตุที่..เด็กติดเกมส์..เด็กไม่สนใจการเรียน
สาเหตุที่..เด็กติดเกมส์..เด็กไม่สนใจการเรียน
ปัจจุบันสภาพสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง
โดยเฉพาะความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นปัจจัยเร่งที่สำคัญให้โลกไร้พรมแดน
เกิดการไหล่บ่าของข้อมูลข่าวสารทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งปัจจุบันจะยิ่งทวีความซับซ้อนมีความรุนแรงมากขึ้น
ส่งผลกระทบต่อการเรียน ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของเด็กและเยาวชนของชาติ
ก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาการหนีเรียน
ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็ก การพนัน การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
และค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลกระทบต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนทั้งสิ้น
สถาบันครอบครัว สภาพเศรษฐกิจกดดันให้พ่อแม่ต้องทำงาน ไม่มีเวลาเลี้ยงดูลูก
หรือเลี้ยงดูในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม สมาชิกในครอบครัวมีเวลาให้แก่กันน้อยลง อัตราการหย่าร้างมีมากขึ้น
ทำให้เกิดการปล่อยปละละเลยและทอดทิ้งเด็ก และมีการใช้ความรุนแรง เป็นต้น
เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กและการปรับตัวเข้ากับสังคมหรือสิ่งแวด
ล้อมและแบบแผนการใช้ชีวิตของเด็กและเยาวชน
สถาบันการศึกษา มีการเปลี่ยนหลักสูตรบ่อยครั้งและ/หรือการใช้หลักสูตรไม่เหมาะสมกับภาพความเป็นจริง
และสภาพท้องถิ่น ส่งผลให้เด็กและเยาวชนขาดแรงจูงใจในการศึกษา ขาดต้นแบบที่ดี
มีความมั่นใจในตนเองในทางที่ผิด มีค่านิยมและพฤติกรรมตามเพื่อนในกลุ่ม
สถาบันศาสนา ไม่เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจเท่าที่ควร และกลายเป็นสถานที่ประกอบธุรกิจหรือพุทธพาณิชย์มากกว่าการเผยแพร่คำสั่งสอน
ในขณะเดียวกันพระสงฆ์บางรูปประพฤติปฏิบัติไม่เหมาะสม
ส่งผลให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อสถาบันศาสนา
สื่อ
การแพร่ภาพที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน
และการโฆษณาที่เกินจริงกลายเป็นรูปแบบที่เด็กและเยาวชนเอาอย่าง
ส่งผลกระทบให้เด็กและเยาวชนมีค่านิยมที่ผิด
เด็กและเยาวชนขาดแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต
เนื่องจากสังคมปัจจุบันให้คุณค่ากับวัตถุ
และผู้มีทรัพย์สินและอำนาจมากกว่าความซื่อสัตย์สุจริต
ความขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพ เด็กและเยาวชนจึงมีค่านิยมรักความสะดวกสบายมากกว่าความพยายาม
ขาดวินัยและไม่ชินกับการทำงานหนัก
บริโภคข้อมูลข่าวสารและสื่อสารสนเทศอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา เช่น
ขาดแบบแผนการดำเนินชีวิต การพัวพันกับอบายมุข สิ่งมอมเมา อาทิ ดื่มสุรา สูบบุหรี่
ติดยาเสพติด เล่นการพนัน และการใช้สื่อที่ไม่เหมาะสม
เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อโฆษณา
บริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยและมีการเลียนแบบพฤติกรรมมั่วสุมทางเพศ ติดเกมออนไลน์
เที่ยวเตรีในสถานบริการและสถานบันเทิงต่าง ๆ
เสี่ยงต่อการกระทำความผิด ต้องตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพในรูปแบบต่าง ๆ
รวมทั้งการเข้าสู่ระบบธุรกิจบริการทางเพศทั้งโดยสมัครใจและสมยอม
สภาพเศรษฐกิจและสังคม
ความเจริญก้าวหน้าของเส้นทางคมนาคมและเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร
และปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น
การแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าทำให้เกิดกระบวนการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ที่ต้องการทำงาน
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดการค้าเด็กและหญิงมากขึ้น
การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานข้ามชาติของมนุษย์ เพื่อแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
เปิดช่องทางให้มีการนำเด็กและหญิงเข้าสู่กระบวนการเคลื่อนย้ายแรงงานมากขึ้นนอกระบบ
และในที่สุดตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ โดยการนำมาค้าบริการทางเพศ
และการนำมาใช้แรงงานที่ผิดกฎหมายอย่างไร้ความปราณี
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ปัจจุบันเด็กไทยต้องเผชิญกับความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย
การตกเป็นเหยื่อแห่งความขัดแย้ง เนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม
จะเห็นได้ว่าสังคมไทยมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ
สังคมและการเมือง กลายมาเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทำให้เกิดผลกระทบที่เป็นปัญหาต่อสังคมนานัปการ
และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชน
แนวทางการแก้ไขปัญหานักเรียนของผู้ปกครอง
ปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
สาเหตุ
1.บิดามารดาหรือผู้ปกครองขาดการดูแลเอาใจใส่ในการป้องกัน
แก้ไขปัญหาบุตรหลานเมื่อพบว่ามีพฤติกรรมเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่
2. บิดามารดาหรือผู้ปกครองขาดความรับผิดชอบ
ไม่ประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุตรหลานในเรื่องของการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่
3.
บิดามารดาหรือผู้ปกครองขาดความรู้ทางด้านจิตวิทยาในการอบรมเลี้ยงดูและปกครองไม่ให้บุตรหลานประพฤติผิดเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่
4.
บิดามารดาหรือผู้ปกครองทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจำ หย่าร้างหรือแยกกันอยู่ทำ
ให้บุตรหลานมีจิตใจว้าวุ่น สับสน
จึงหาทางออกด้วยการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่
5.
บิดามารดาหรือผู้ปกครองขาดความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการอบรมสั่งสอน
กวดขันบุตรหลาน
6.
นักเรียนมีค่านิยมที่ไม่ถูกต้องและมีพฤติกรรมทำตามกลุ่มเพื่อนด้วยคิดว่าการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ทำให้เป็นสุภาพบุรุษหรือแสดงลักษณะความเป็นชายให้สังคมรู้จัก
7.
นักเรียนเอาแบบอย่างตามกลุ่มเพื่อน
โดยเฉพาะวัยรุ่นซึ่งมักใช้กลุ่มอ้างอิงในแง่ความคิด ความรู้สึก การกระทำ
ทั้งนี้เพราะนักเรียนต้องการเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มและต้องการการยอมรับจากกลุ่ม
8.
นักเรียนอยู่ในช่วงวัยรุ่นกำลังมีความกระตือรือร้นอยากรู้ อยากลองอยากมี
ประสบการณ์
หากได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมรุ่นมีผลต่อการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่ครั้งต่อไป
หรือรสของแอลกอฮอล์และบุหรี่ถูกรสนิยมของเขายิ่งทำให้มีแนวโน้มในการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น
9.
นักเรียนประสบปัญหาไม่มีทางออก มีความกลัดกลุ้ม ตึงเครียดทางอารมณ์ เกิด
ความคิดวุ่นวายใจ
หวังจะระงับอารมณ์เหล่านั้นด้วยการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่
10. นักเรียนอยู่ในชุมชนแออัดมาก ๆ
มีแนวโน้มที่จะดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่
11. นักเรียนเป็นปฏิปักษ์ต่อสังคม
มองภาพสังคมในแง่ลบ ไม่เป็นมิตร ไม่ได้รับความ
เป็นธรรมต่อตัวเขาและครอบครัว
จึงแสดงพฤติกรรมในทางตรงกันข้ามกับความต้องการของสังคมเพื่อตอบโต้และประชดสังคมด้วยการดื่มแอลกอฮอล์
สูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติด
แนวทางการช่วยเหลือแก้ไขของผู้ปกครอง
1. ให้ความรัก ความอบอุ่น ดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน
และสร้างความสามัคคีภายในครอบครัว ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาเมื่อบุตรหลานมีปัญหา
2. ศึกษาให้เข้าใจถึงพัฒนาการและปัญหาของบุตรหลาน
มีจิตวิทยาในการดูแลช่วยเหลือบุตรหลาน รวมทั้งอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน
3.
ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการพัฒนาส่งเสริมบุตรหลานทั้งในด้านการเรียน
การอาชีพ และชีวิตสังคม
4. ควรประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุตรหลาน
5.
อบรมเลี้ยงดูให้บุตรหลานสามารถที่จะเผชิญความจริงในชีวิตได้
6.
สังเกตและติดตามพฤติกรรมของบุตรหลานอยู่เสมอ
เกี่ยวกับการคบเพื่อนที่ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ และรีบให้การดูแลช่วยเหลือ
7.
สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุตรหลานที่ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีมีระเบียบวินัยมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
ครอบครัว และสังคม
8. เปิดโอกาสให้บุตรหลานได้เลือกทำกิจกรรมที่เขาสนใจด้วยตนเอง
9. ส่งเสริมสนับสนุนให้บุตรหลานได้เรียนตามที่สนใจ ตามความถนัดไม่บังคับเคี่ยวเข็ญในเรื่องเรียนจนมากเกินไป
10.
ยอมรับในสิ่งที่บุตรหลานได้ทำผิดพลาดและให้โอกาสได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ปัญหาการหนีเรียนและไม่ตั้งใจเรียน
สาเหตุ
1. มีปัญหาทางครองครัว เช่น
บิดามารดาดุด่า ไม่เข้าใจ ขาดกำลังใจจากบิดามารดา ถูกเปรียบเทียบกับเพื่อน พี่น้อง
ครอบครัวคาดหวังกับนักเรียนมากเกินไป
2. มีปัญหาทางการเรียน
ขาดที่พึ่งที่ปรึกษาที่จะให้คำแนะนำ
3. ไม่เข้าใจที่บทเรียนที่ครูสอน
4. ถูกเพื่อนชักชวน
5. ขาดความสนใจในบทเรียนและไม่ให้ความสำคัญกับการเรียน
6. ไม่มีจุดมุ่งหมายในการเรียน
ขาดเป้าหมายในชีวิต
7.
ไม่ชอบครู/เพื่อนในชั้น/วิชาที่เรียน
8.
ประสบความล้มเหลวในการเรียนและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
9.
การบ้าน/งานที่ได้รับมอบหมายมีมากเกินไป/ทำงานไม่ได้/ทำไม่ทัน
10. ไม่มีเพื่อนสนิท/ปรับตัวเข้ากับเพื่อนในห้องไม่ได้
แนวทางการช่วยเหลือแก้ไขของผู้ปกครอง
1. ควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ไม่ดุด่าว่ากล่าว
ใช้ความรู้สึกและเหตุผลในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน เพื่อให้บุตรหลานเกิดการไว้วางใจกล้าปรึกษาเมื่อมีปัญหา
2.
ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการสอดส่องดูแลนักเรียนร่วมกันวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาความประพฤติด้านการเรียน
3.
ศึกษาทำความเข้าใจถึงพัฒนาการตามวัยของบุตรหลานและการอบรมเลี้ยงดูที่ถูกวิธี
4.
ส่งเสริมให้บุตรหลานได้พัฒนาความสามารถของตนเอง
5.
แบ่งเวลาเป็นที่ปรึกษาให้กับบุตรหลาน
6.
ประสานงานกับโรงเรียนทันทีที่พบว่าบุตรหลานมีพฤติกรรมด้านการเรียนไม่เหมาะสม
ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
สาเหตุ
1. ครอบครัวหย่าร้าง
ปล่อยปละละเลยในการอบรมเลี้ยงดู ตลอดจนขาดการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุตรหลาน
2.
บิดามารดาหรือผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา
ไม่สามารถให้ความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสมแก่บุตรหลาน
3.
บิดามารดาหรือผู้ปกครองไม่รู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีแลข้อมูลข่าวสาร
4. นักเรียนขาดความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ
ขาดการดูแลเอาใจใส่จากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
5.
นักเรียนขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาที่ถูกต้อง
6.
นักเรียนลอกเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจากสื่อต่าง ๆ
ขาดการวิเคราะห์และใช้ข้อมูลข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณ
7.
นักเรียนขาดทักษะในการดำเนินชีวิต
แนวทางการช่วยเหลือแก้ไขของผู้ปกครอง
1.
ต้องศึกษาทำความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้อง
2.
เป็นที่ปรึกษาของบุตรหลานและให้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเหมาะสมในเรื่องเพศ
3.
สอดส่องดูแลพฤติกรรมของบุตรหลานและให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
4. เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน
5.
ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร
6.
อบรมสั่งสอนให้บุตรหลานยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามและเหมาะสม
ปัญหาการพนัน
สาเหตุ
1.
ขาดการประสานงานระหว่างโรงเรียนกับบ้าน
2.
โรงเรียนไม่จัดทำข้อมูลนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง
แหล่ง/สถานที่ที่เสี่ยงต่อการกระทำ
ผิด
3. บิดามารดาหรือผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน
ขาดการให้คำปรึกษา ขาดการ
ฝึกนิสัยการใช้จ่ายที่เหมาะสม
ปล่อยปละละเลยให้ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ ตามสบาย
4.
บิดามารดาหรือผู้ปกครองประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ไม่เหมาะสม
5.
มีแหล่งการพนันอยู่ในชุมชนใกล้ที่อยู่อาศัย
6. นักเรียนอยากรู้
อยากเห็น อยากลอง
7.
นักเรียนขาดความรัก ความอบอุ่น ทำให้อยู่บ้านไม่มีความสุข
จึงไปคบเพื่อนที่ไม่ดี
8.
นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน มีค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง
หวังรวยด้วยการเล่นการพนัน
10. นักเรียนมีความวิตกกังวล
หงอยเหงา อันเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจจึงหันไปหาเพื่อน ๆ
รวมกลุ่มเล่นการพนันและประพฤติผิดอื่น ๆ
แนวทางการช่วยเหลือแก้ไขของผู้ปกครอง
1.
ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุตรหลาน ไม่เล่นการพนัน
2.
ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการอบรม ดูแลเอาใจใส่ในการอบรมเลี้ยงดู
ช่วยเหลือบุตรหลานเมื่อมีปัญหา
3. อบรม แนะนำ
ชี้แจงถึงโทษของการเล่นการพนันให้บุตรหลานได้รู้และเข้าใจด้วยเหตุและผล
ปัญหาการติดเกม
สาเหตุ
1.
ร้านให้บริการอินเทอร์เน็ตและเกมเปิดบริการอย่างมากมายหลายแห่งโดยเฉพาะใน
ละแวกใกล้โรงเรียน
เปิดให้บริการโดยหวังผลกำไรอย่างเดียว
มีกลยุทธ์มากมายให้นักเรียนได้เล่นอย่างเพลิดเพลินจนลืมวันลืมคืน
จนละเลยกิจวัตรประจำวันที่พึงกระทำ
2.
บิดามารดาหรือผู้ปกครองพึงพอใจที่บุตรหลานสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้แต่ไม่ได้ดูแล
อย่างใกล้ชิด ปล่อยให้เล่นตามใจชอบ
เพราะไม่มารบกวนบิดามารดาจนความสัมพันธ์เริ่มห่างกันและติดเกม
3.
บิดามารดาหรือผู้ปกครอง รักและตามใจบุตรหลานเกินสมควรขาดการควบคุม แบ่ง
เวลาให้บุตรหลานในการเล่นเกม
ตลอดจนชี้แนวทางที่เหมาะสมในการประพฤติปฏิบัติ
4.
บิดามารดาหรือผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือกับครู
เพื่อดูแลช่วยเหลือบุตรหลานเมื่อติด
เกม
5.
นักเรียนชอบเล่นเกมเพราะรู้สึกตื่นเต้น สนุก เร้าใจ
มีโลกส่วนตัวที่ทำอะไรได้อย่าง
มากมายซึ่งในชีวิตจริงทำไม่ได้ เช่น
อยากได้อะไรก็เนรมิตได้ ไม่พอใจก็สามารถกำจัดได้ทันที เป็นต้น
6.
นักเรียนรู้สึกเหงา ว้าเหว่า ขาดความรัก ความอบอุ่น จึงหันมาเล่นเกมทดแทน
แนวทางการช่วยเหลือแก้ไขของผู้ปกครอง
1.
เชิญบิดามารดา/ผู้ปกครองมาประชุมเพื่อให้ตระหนักถึงสภาพปัญหาปัจจุบันเกี่ยวกับการติดเกมของบุตรหลานตลอดจนให้แนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดูแลป้องกัน
และช่วยเหลือนักเรียนที่ติดเกม
2. ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนด้านการพัฒนานักเรียน
ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนตรงตามศักยภาพ
ประพฤติปฏิบัติในทางที่เหมาะสมเกี่ยวกับการเล่นเกม
ปัญหาการฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย
สาเหตุ
1. ครอบครัวเลี้ยงดูบุตรหลานตามใจด้านการใช้จ่ายโดยไม่มีเหตุผลและไม่เห็นคุณค่าของ
เงิน
2.
ครอบครัวขาดการปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง
3.
นักเรียนขาดความรู้ความเข้าใจต่อการบริโภคสินค้าให้คุ้มค่าและราคา
4.
นักเรียนตกเป็นเหยื่อการโฆษณาชวนเชื่อ
5.
นักเรียนมีรสนิยมการใช้สินค้ายี่ห้อดัง ราคาแพง ตามกลุ่มเพื่อน
แนวทางการช่วยเหลือแก้ไข
1.
ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุตรหลานด้วยการประหยัดทรัพย์สิน
ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด
รวมทั้งรู้จักดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพฐานะความเป็นอยู่ส่วนตนและสังคม
2.
ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนกับการพัฒนาป้องกันและแก้ไขปัญหา
บุตรหลานที่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
3. จัดงานมงคลต่างๆ
ให้เหมาะสมกับฐานะของตนเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น