Film and Video ฟิล์มภาพยนตร์และวีดีโอ


ฟิล์มภาพยนตร์และวีดีโอ
(  Film and Video)

บทนำ (Introduction)
วีดีโอและภาพยนตร์เป็นสื่อที่รวมเอาภาพเคลื่อนไหว  สี  และเสียงเข้าไว้ด้วยกัน  สามารถสร้างจินตนาการทางความคิดได้เป็นอย่างดี  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ทั้งในอดีต  ปัจจุบัน  หรืออนาคต  ถือเป็นประโยชน์อย่างมากในการนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน 
                เพื่อให้เกิดประสิทธิผลทางการเรียนสูงสุดในการนำวีดีโอและภาพยนตร์มาเป็นสื่อการเรียนการสอน  จำเป็นที่จะต้องเลือกสื่อที่มีเนื้อหาที่เหมาะสม  การลำดับเนื้อหาของวีดีโอและฟิล์มภาพยนตร์อย่างมีขั้นตอน  บ่อยครั้งที่มีผู้เรียนนำวีดีโอ  มาใช้เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานต่างๆ

วัตถุประสงค์การเรียนรู้  (Knowledge  Objectives)
                1. อธิบายได้ว่าวีดีโอมีกี่ชนิด  รวมทั้งเปรียบเทียบคุณสมบัติ  ข้อดี-ข้อจำกัดของวีดีโอแต่ละชนิดได้
                2. เปรียบเทียบและหาคุณสมบัติที่แตกต่างระหว่างวีดีโอและภาพยนตร์  รวมทั้งการนำมาใช้ในการเรียนการสอน
                3. อธิบายคุณสมบัติ  5  ข้อของสื่อภาพเคลื่อนไหวได้
                4. อธิบายข้อดี-ข้อจำกัดของสื่อภาษาเคลื่อนไหวได้
                5. อธิบายวิธีการนำวีดีโอและภาพยนตร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้
                6. อธิบายขั้นตอนการผลิตวีดีโอเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้
                7. ทราบข้อจำกัดของการนำวีดีโอมาใช้เพื่อการศึกษาได้
                8. อธิบายวิธีการคัดเลือกสื่อภาพเคลื่อนไหวมาใช้เพื่อการศึกษาได้อย่างเหมาะสม  รวมถึงการประเมินมาตรฐานของสื่อได้
                9. อธิบายวิธีการสร้างสื่อภาพเคลื่อนไหวได้
                10.อธิบายการจัดห้องเรียนสำหรับใช้วีดีโอเป็นสื่อการเรียนได้  โดยอธิบายเกี่ยวกับการจัดที่นั่ง  จอฉายภาพ  ความสว่าง   และเสียง  รวมทั้งมุมในการมองที่แคบที่สุดและกว้างที่สุดที่สามารถมองเห็นภาพได้

วัตถุประสงค์ในการนำไปใช้  (Application  Objective)
                1. ดูตัวอย่างวีดีโอหรือภาพยนตร์  และทำการประเมินผลโดยใช้แบบประเมินผล Appraisal  Checklist
                2. สังเกตการเรียนการสอนที่ครูใช้วีดีโอหรือภาพยนตร์เป็นสื่อในการสอนได้
                3. ทำการรวบรวมรายชื่อวีดีโอและภาพยนตร์ที่น่าสนใจ 
                4. วางแผนการสอนที่จะใช้วีดีโอหรือภาพยนตร์เป็นสื่อในการสอนได้
                5. ชมตัวอย่างวีดีโอหรือภาพยนตร์  ทำการบันทึกเนื้อหาโดยย่อ  และปฏิกริยาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับตนเองได้
                6. อธิบายขั้นตอนการทำสื่อภาพเคลื่อนไหวที่จะนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนได้
                7. ทำการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อฉายภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตร  เครื่องเล่นบันทึกวีดีโอ  และวีดีโอโปรเจคเตอร์ได้ รวมทั้งอธิบายปัญหาที่อาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงานได้

วิวัฒนาการของสื่อภาพเคลื่อนไหว
                ตอนเริ่มแรก  สื่อที่รวมเอาภาพเคลื่อนไหวและเสียงเพื่อนำเสนอนั่น  คือ  ภาพยนตร์โดยใช้กระบวนการทางเคมีในการบันทึก  ต่อมาระบบทางอิเลคโทรนิค  มีการพัฒนาขึ้น  จึงเกิดเทคโนโลยี่ในการผลิตสื่อภาพเคลื่อนไหวอีกระบบ  คือ  วีดีโอ  ส่วนระบบการเก็บข้อมูลเป็นตัวเลข (Digital)  ซึ่งจะทำการจัดเก็บข้อมูลลงในแผ่นดิสค์นั่น  เป็นสื่อที่รวมภาพเคลื่อนไหวและเสียง ซึ่งมีพัฒนาการในระยะหลังสุด
                จะเห็นได้ว่าสื่อแต่ละชนิดเหล่านี้  มีความแตกต่างกันทางด้านราคา ความสะดวกและความง่ายต่อการประยุกต์ใช้



*วีดีโอ  (VIDEO)*
                Video คือ  การทำให้เกิดภาพบนจอฉายภาพแบบสกรีน (หลอดรังสีคาร์โธด Cathode-ray screen)  ด้วยสื่อใช้ในการแสดงภาพ  เช่น  วีดีโอเทป (Video cassettes), วีดีโอดิสค์(Videodiscs), Interactive video  ,Video game ฯลฯ

การสร้างภาพบนจอเครื่องรับโทรทัศน์

ลักษณะการมองเห็นของตามนุษย์
                การมองเห็นสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวนั้น  เกิดขึ้นได้เนื่องจากมีแสงพุ่งออกมาจากสิ่งที่มองเห็นมาเข้าตาเรา  แสงสว่างมีคุณสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  ที่มีย่านความยาวคลื่นอยู่ในระหว่าง  780  นานอเมตร (nm)  ถึง  380  นานอเมตร (1  nm  =  1  ในพันล้านเมตรหรือ  10  อังสตรอม)  ซึ่งย่านความถี่นี้จะทำให้ประสาทตาเกิดความรู้สึกมองเห็นเป็นแสงสว่าง  ปริมาณความเข้มของแสงที่พุ่งออกมาจากส่วนต่างๆ ของภาพนั้นไม่เท่ากัน  จึงทำให้ตาเกิดความรู้สึกมองเห็นเป็นขอบเขต  เป็นรูปทรงสัณฐานที่มีส่วนสัด  ซึ่งเรียกว่า  ภาพ  ถ้าพื้นที่บริเวณใดก็ตามมีแสงพุ่งออกมาด้วยปริมาณความเข้มเท่ากันหมด  ตาจะมองเห็นบริเวณนั้นเป็นพื้นที่ว่างเปล่า  ไม่มีภาพปรากฏ
                ลักษณะการมองเห็นภาพแยกออกได้เป็น  2  ลักษณะคือ
                1.  การมองเห็นสิ่งที่ไม่มีแสงในตัวเอง (การมองเห็นทางลบ)
                2.  การมองเห็นสิ่งที่มีแสงในตัวเอง (การมองเห็นทางบวก)
               
                การมองเห็นสิ่งที่ไม่มีแสงในตัวนั้นจะต้องอาศัยแสงจากแหล่งกำเนิน  เช่น  ดวงอาทิตย์หรือหลอดไฟ  ส่องไปกระทบสิ่งนั้น  จากนั้นจึงสะท้อนมาเข้ายังตา  ทำให้สามารถมองเห็นสิ่งนั้นได้  ถ้าไม่มีแสงจากแหล่งกำเนิด  เช่น  เป็นตอนกลางคืนหรือเมื่อดับไฟ  จะมองไม่เห็นอะไรเลย  เพราะไม่มีแสงส่องมาเข้าตาจึงเกิดความรู้สึกมองไม่เห็นอะไรเลย  คือ  เป็นสีดำ (มืด)  ไปหมด
                ส่วนการมองเห็นอีกลักษณะหนึ่งก็คือ  การมองเห็นสิ่งที่มีแสงในตัว  ได้แก่การมองเห็นภาพซึ่งเกิดจากหลอดไปนีออนโฆษณาต่างๆ และการมองเห็นภาพจากหน้าจอของเครื่องรับโทรทัศน์เป็นต้น  เนื่องจากแสงที่สร้างขึ้นในบริเวณต่างๆ  ของภาพมีความเข้มไม่เท่ากัน  เมื่อส่องมาเข้าตาเราจึงเกิดมองเห็นเป็นภาพ

การมองเห็นภาพ
                แสงขาวที่มองเห็นจากดวงอาทิตย์หรือหลอดไฟนั้น  จะประกอบด้วยความถี่ต่าง ๆ  ตั้งแต่ย่านความยาวคลื่นระหว่าง  780 nm-380 nm  ผลรวมของความถี่ทั้งหมดนั้นจะทำให้ประสาทตาเกิดความรู้สึกมองเห็นเป็นแสงขาว  เมื่อแสงที่พุ่งมาเข้าตามีความเข้มสูงสุด (ความเข้ม  100 %)  และเห็นเป็นสีเท่า  ถ้าปริมาณความเข้มของแสงลดต่ำลงเรื่อย ๆ  จนเห็นเป็นสีดำเมื่อไม่มีแสงพุ่งมาเข้าตา  ดังนั้นบริเวณใดก็ตามที่ไม่มีแสงพุ่งมาเข้าตาจะมองเห็นเป็นสีดำ
                ลักษณะการมองเห็นภาพขาวดำ  เป็นการมองเห็นภาพซึ่งเกิดจากการแปรเปลี่ยนปริมาณความเข้มของแสงขาวที่สะท้อนจากภาพมาเข้าตา  ถ้าส่วนของภาพบริเวณใดสะท้อนแสงจากแหล่งกำเนิดมาเข้าตาได้มากที่สุด (ความสว่าง 100%)  จะมองเห็นภาพส่วนนั้นเป็นสีขาว  สำหรับส่วนที่สะท้อนแสงมาเข้าตาด้วยประมาณที่ต่ำกล่าลดหลั่นลงไป  ก็จะมองเห็นเป็นสีเท่าอ่อนและสีเท่าแก่ตามลำดับ  จะกระทั่งบริเวณใดไม่มีแสงสะท้อนมา  ตาก็จะมองเห็นภาพส่วนนั้นเป็นสีดำ  ดังนั้นภาพขาวดำซึ่งมีทั้งส่วนขาว  เท่าอ่อน  เท่าแก่และดำ  จึงเป็นภาพซึ่งเกิดจากการแปรเปลี่ยนความเข้มของแสงขาวที่พุ่งจากภาพที่มองเห็นมาเข้าตาเราในปริมาณความเข้มระหว่าง  100%  ถึง  0%


ภาพเรืองแสงที่เกิดขึ้นบนจอสกรีนนั้น  เกิดจากการฉายแสงโดยมีสีและความเข้มต่างๆ เป็นจุดเล็กๆ ที่ความถี่ในการฉาย 30 ครั้งต่อ 1 นาที  โดยกระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นบนหลอดรังสีคาร์โธด (จอทีวี) ทำให้เกิดภาพขึ้นได้  และการที่เราเห็นภาพบนจอสามารถเคลื่อนไหวได้นั้น  เกิดจากปรากฎการณ์ทางสายตาที่เรียกว่า  ภาพติดตา (Persistence of Vision)
                Persistence of Vision คือ เมื่อสมองรับรู้ภาพที่เกิดขึ้นจากการมองแล้ว จะเกิดความจำชั่วคราวขึ้น  และจะเลือนหายไปภายในเศษเสี้ยวของวินาที  แต่ถ้าหากสมองได้รับรู้ภาพใหม่ก่อนที่ภาพเก่าจะลบเลือนไป ซึ่งจะต้องเป็นช่วงเวลาที่รวดเร็วมาก  ก็จะทำให้ภาพที่เห็นดูต่อเนื่องจนกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวได้

การสร้างสัญญาณภาพ
                การส่งสัญญาณภาพแพร่กระจายออกอากาศของสถานนีส่งโทรทัศน์  หรือการบันทึกสัญญาณภาพลงบนเทปของเครื่องเล่นวิดีโอเทปนั้น  ขั้นตอนแรกจะต้องทำการเปลี่ยนภาพที่ตามองเห็นในรูปของพลังงานแสงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเสียก่อน  เรียกว่า  สัญญาณภาพ  จากนั้นจึงจะสามารถนำสัญญาณนี้ไปผสมกับคลื่นพาหะของสัญญาณภาพ (video carrier)  ส่งออกอากาศหรือส่งเข้าวงจรบันทึกของเครื่องเล่นวิดีโอเทปได้ ตัวการที่ทำหน้าที่ดังกล่าว  ได้แก่  กล้องถ่ายสัญญาณโทรทัศน์ (TV. Camera)  หัวใจที่สำคัญที่สุดของกล้องถ่ายสัญญาณโทรทัศน์นั้น  อยู่ที่หลอดเก็บสัญญาณภาพที่เรียกว่า  camera tube  ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนภาพในรูปของแสงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า  ซึ่งเรียกว่าสัญญาณภาพ  หลอดเก็บสัญญาณภาพที่ใช้ในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่จนกระทั่งแตกต่างไปจากหลอดเก็บสัญญาณภาพยุคแรกมาก  เพื่อให้มีคุณสมบัติที่ดีกว่าในปัจจุบันนี้หลอดที่ใช้อยู่ได้แก่   วีดีคอน (Videcon)  พลูมบิคอน (plumbicon) นิววีคอน (newvicon)  แซทิคอน (sation) ฯลฯ  และในปัจจุบันนี้ยังได้นำสารกึ่งตัวนำมาใช้ทำหน้าที่สร้างสัญญาณภาพแทนหลอดสูญญากาศข้างต้น  เพื่อตัดส่วนที่เป็นหลอดสูญญากาศ ออกไป  ทำให้ได้เป็นระบบสารกึ่งตัวนำอย่างสมบูรณ์  ได้แก่  CCD (Charge Coulpled Device) และ  MOS (Metal Oxide Semiconductor)  เป็นต้น  แต่ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใดก็ตามก็จะยังคงทำหน้าที่เหมือนเดิมดังกล่าวไว้ข้างต้นแล้ว  คือ  เปลี่ยนแสงจากภาพให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
                หลักการของหลอดเก็บสัญญาณภาพ  อยู่ที่การเอาแสงจากภาพไปเปลี่ยนค่าความต้านทาน  ของสารไวแสง (Photo Conductive Material)  ที่ฉาบเอาไว้ตรงส่วนรับภาพ  ที่เรียกว่าแผ่นภาพ (Image Plate)  แผ่นสัญญาณ (Signal Plate)  หรือตาเก็ท (Target)  โดยแสงจากภาพจะลอดผ่านเลนส์  ซึ่งทำหน้าที่ปรับโฟกัสภาพที่ไปปรากฏบนแผ่นรับภาพนั้น  ให้มีความคมชัดที่สุด  จากนั้นอิเลคตรอนกันที่อยู่ตรงโคนหลอดจะยิงลำอิเลคตรอนไปกราดผ่านแผ่นภาพในลักษณะเดียวกันกับการสร้างราสเตอร์ที่หน้าจอภาพของเครื่องรับโทรทัศน์     โดยขณะที่ลำอิเลคตรอนกราดผ่านบริเวณที่ไม่มีภาพตกกระทบหรือบริเวณที่เป็นส่วนดำของภาพ  ความต้านทานของสารไวแสงตรงบริเวณนั้นจะมีค่าสูง  กระแสอิเลคตรอนจึงไหลผ่านออกมาได้น้อยและถ้าส่วนของภาพที่เป็นสีเทาตกกระทบสารไวแสง  ค่าความต้านทางตรงส่วนนั้นจะลดต่ำลง  ทำให้กระแสอิเลคตรอนที่กราดผ่านบริเวณนั้นไหลได้มากขึ้น  และถ้าบริเวณใดมีส่วนขาวของภาพตกกระทบ  ความต้านทานของสารไวแสงตรงส่วนนั้นจะมีค่าต่ำสุด  กระแสอิเลคตรอนที่กราดผ่านบริเวณนั้นจึงไหลผ่านออกมาได้มากที่สุด

                ลักษณะการกราดเก็บสัญญาณที่แผ่นตาเก็ทของหลอดเก็บสัญญาณภาพ  จะเป็นลักษณะเดียวกับการสร้างเส้นราสเตอร์ที่หน้าจอภาพ  คือ  เริ่มกราดเก็บส่วนของสัญญาณภาพทางแนวนอนจากส่วนขอบด้านบนสุดของตาเก็ท  โดยเก็บสัญญาณเส้นเว้นเส้นหรือกราดแบบสลับเส้น  โดยแนวการกราดจะเคลื่อนที่ต่ำลงมาเรื่อย ๆ  จนถึงขอบตาเก็ทด้านล่าง  ได้เป็นสัญญาณภาพ  1  ฟิลด์  ปรากฏออกไปทางด้านเอ้าท์พุท (287.5H)  จากนั้นจะถูกสนามแม่เหล็กจากขดลวดชุดเบี่ยงเบนทางแนวตั้งเบี่ยงเบนให้วิ่งจากขอบตาเก็ทด้านล่างขึ้นไปยังขอบตาเก็ทด้านบน (จังหวะสะบัดกลับทางแนวตั้ง)  เพื่อเริ่มต้นกราดเก็บสัญญาณภาพตรงส่วนที่เว้นเอาไว้จากตอนกราดฟิล์ดแรก  เป็นการเริ่มสร้างสัญญาณภาพฟิล์ดที่  2  สลับกันไปเช่นนี้ตลอด  จังหวะสะบัดกลับทางแนวตั้งแต่ละครั้งจะไม่มีสัญญาณภาพปรากฏออกมาทางเอ้าท์พุทเป็นเวลาเท่ากับเวลาในการสะบัดกลับทางแนวตั้ง  และจะมีลักษณะการทำงานเช่นนี้ต่อเนื่องกันไป

การสร้างสัญญาณภาพขาวดำ
                การสร้างสัญญาณภาพของโทรทัศน์ขาวดำใช้หลอดกล้อง (camera tube)  เพียงหลอดเดียว  เพื่อทำหน้าที่เปลี่ยนความสว่างของแสงสีจากภาพทั้งหมดให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า  ที่เรียกว่าสัญญาณภาพ (video signal)  เพียงสัญญาณเดียวส่งไปเข้าเครื่องรับ  ทางด้านเครื่องรับซึ่งมีหลอดภาพที่มีอิเลคตรอนกันเพียงอันเดียวจะรับสัญญาณภาพเข้าไปเพื่อเปลี่ยนแปลงแรงดันไบอัสของหลอดภาพ  ทำให้ประมาณลำอิเลคตรอนที่ยิงไปชนจอเปลี่ยนแปลง  เกิดการสร้างภาพขาวดำที่มีความสว่างมากน้อย  ตรงตามภาพที่กล้องโทรทัศน์  จับอยู่ที่เครื่องส่งในขณะนั้น

การสร้างสัญญาณภาพสี
                การเปลี่ยนภาพที่ปรากฏเป็นสีสันตามธรรมชาติรอบๆ ตัวให้เป็นสัญญาณโทรทัศน์สีนั้น  ทำได้โดยอาศัยการแยกแสงสีที่ปรากฏอยู่บนภาพนั้นออกเป็นแสงสี  4  ชนิด  คือ 
1.            แสงสีขาว
2.            แสงสีแดง
3.            แสงสีน้ำเงิน
4.            แสงสีเขียว
                1)  ใช้กระจกแยกแสงสีที่เรียกว่า  ไดครออิค (dichroic mirror)  มากั้นตรงทางผ่านของแสงที่รับเข้ามาทางเลนส์  2  อัน  อันแรกเป็นกระจกที่มีคุณสมบัติหักเหความถี่ต่ำ  ซึ่งจำทำให้แสงสีแดง  ซึ่งมีความถี่ต่ำเกิดการหักเหแยกออกไปจากแสงขาว  กระจกอันที่สองเป็นกระจกที่มีคุณสมบัติหักเหความถี่สูง  ซึ่งจะทำให้แสงสีน้ำเงินที่มีความถี่สูงเกิดการหักเหแยกออกไปจากแสงขาว  ส่วนแสงสีเขียวที่มีความถี่ปานกลางนั้นจะสามารถผ่านทะลุกระจกทั้งสองไปได้โดยไม่เกิดการหักเห
                2)  ใช้ปริซึมแยกแสงสีเรียกว่า  ไดครออิคปริซึม (dichroic prism)  เพื่อทดให้แสงสีแดงและแสงสีน้ำเงินเกิดการหักเหไปตามผิวปริซึม  แยกออกไปจากแสงสีขาว  ส่วนแสงสีเขียวที่เหลือจะสามารถผ่านทะลุปริซึมเป็นทิศทางตรงออกไปโดยไม่เกิดการหักเห
               

กระจกเงา
แสงสีแดง                                           แสงแดง
เลนส์
กระจกหักเหแสงน้ำเงิน
ภาพ                                                                         แสงสีเขียว              แสงจากภาพ                                                แสงเขียว
กระจกหักเหแสงแดง

แสงสีนำเงิน
กระจกเงา                                                                                               แสงน้ำเงิน
การแยกแสงสีโดยกระจก                                                                     การแยกแสงสีโดยปริซึม

การแยกแสงสีโดยกระจกและปริซึม

มาตรฐานสัญญาณโทรทัศน์สีแบบต่าง ๆ
(Color Television Signal Standard)
                สัญญาณสีที่ได้จากกล้องถ่ายโทรทัศน์ซึ่งมีถึง  3  สี  ไม่สามารถส่งออกอากาศโดยตรงได้เพราะมีข้อกำหนดระบุสัญญาณโทรทัศน์สีต้องส่งออกอากาศโดยใช้ย่านความถี่  (frequency range)  และความกว้างของแถบความถี่แต่ละช่อง (channel bandwidth)  เท่ากันกับของการส่งสัญญาณโทรทัศน์ขาวดำซึ่งมีอยู่เดิม  ดังนั้นการส่งสัญญาณโทรทัศน์สีจึงต้องใช้วิธีการยุ่งยากซับซ้อนกว่าของสัญญาณโทรทัศน์ขาวดำ  ซึ่งจะมีหลักการดังนี้  คือ
                1.  สัญญาณลูมิแนนซ์  ซึ่งเป็นสัญญาณระดับความสว่างหรือสัญญาณขาวดำ  ที่รวมทั้งสัญญาณควบคุมตำแหน่งภาพต่างๆ จะส่งออกอากาศไปในลักษณะเดียวกับสัญญาณโทรทัศน์ขาวดำ  คือ  ผสมกับคลื่นพาหะสัญญาณภาพ (video carrier)  โดยตรงในแบบ  AM  แล้วส่งแพร่กระจายออกอากาศไป
                2.  สัญญาณสีซึ่งมีอยู่ถึงสามสัญญาณ  คือ  สัญญาณสีแดง  สีเขียวและสีน้ำเงิน  จะต้องถูกยุบให้เหลือสองสัญญาณ   คือ   สัญญาณความต่างสี    R-Y   ซึ่งได้จากการเอาสัญญาณสีแดงไปรวมกับสัญญาณลูมิแนนซ์ (Y)  ซึ่งถูกกลับเฟสไปจากเดิม  180  และสัญญาณความต่างสี  B-Y  ซึ่งได้จากการรวมตัวระหว่างสัญญาณสีน้ำเงินกับสัญญาณลูมิแนนซ์ที่ถูกกลับเฟสไป  180  จากนั้นสัญญาณทั้งสองจะถูกส่งไปผสมกับซับแคเรียที่สร้างขึ้น  เพื่อยกระดับความถี่จาก 0-1 MHz  ให้สูงขึ้นไปอยู่ในย่านปลายแถบด้านความถี่สูงของสัญญาณลูมิแนนซ์  คือ ประมาณระหว่าง   3-5   MHz    เพื่อแทรกซ้อนไปตรงบริเวณช่องว่างระหว่างกลุ่มความถี่ฮาโมนิคส์ของสัญญาณลูมิแนนซ์  ซึ่งมีกำลังอ่อนตรงปลายแถบด้านความถี่สูง  เพื่อส่งออกอากาศร่วมกันไปโดยเกิดการรบกวนระหว่างกันน้อยที่สุด  วิธีการนี้เรียกว่า  Frequency  Interleaving  จากนั้นสัญญาณความต่างสีที่ผสมกับซับแคเรียแล้วทั้งสองสัญญาณจะถูกส่งเข้ารวมตัวกันเป็นสัญญาณโครม่าสัญญาณเดียว  เพื่อส่งไปรวมตัวกับสัญญาณลูมิแนนซ์  ก่อรูปเป็นสัญญาณคอมโพซิทวิดีโอและผสมกับคลื่นพาหะสัญญาณภาพได้เป็นสัญญาณโทรทัศน์สีส่งออกอากาศ
                ภาคที่ทำหน้าที่ต่อรูปสัญญาณแม่สี  3  สี  ให้เป็นสัญญาณโครม่า  เรียกว่า  Chroma Encoder ทางเครื่องรับสัญญาณโครม่าที่รับเข้ามาจะถูกแยกกลับคืนเป็นสัญญาณแม่สี 3 สัญญาณดังเดิม โดยภาค Chroma Decoder ทั้งภาค Chroma Encoder และ Chroma Decoder จะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันจึงจะแยกสัญญาณออกมาได้อย่างถูกต้อง
                มาตรฐานของการก่อรูปสัญญาณโทรทัศน์สีในปัจจุบันมีอยู่  3  มาตรฐาน  ได้แก่
                1.  NTSC  (The National Television System Committee)
                2.  PAL  (Phase Alternation by Line)
                3.  SECAM  (Sequential Colour A Memory)

มาตรฐานระบบ  NTSC 
                มาตรฐานนี้สร้างขึ้นโดยคณะกรรมการระบบโทรทัศน์แห่งชาติของอเมริกา  ได้นำออกแสดงให้ประชาชนชมครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม  ค.ศ. 1953 (2496)  มาตรฐานนี้เป็นพื้นฐานของการส่งสัญญาณโทรทัศน์สีมาตรฐานอื่น ๆ  สร้างขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ร่วมช่องเดียวกับการส่งสัญญาณโทรทัศน์ขาวดำระบบ  525  เส้น  (FCC.)  ของอเมริกา  ซึ่งมีความถี่เบี่ยงเบนแนวตั้ง  60  Hz  ความถี่ในการเบี่ยงเบนแนวนอน  15750  Hz  แถบความถี่ของภาพจะถูกกำหนดไว้เท่ากับ  4.2  MHz  และมีความกว้างของช่อง  6  MHz  ระบบนี้สร้างขึ้นเพื่อใช้ในอเมริกา  ต่อมาได้ถูกนำไปใช้ใน  ญี่ปุ่น  ฟิลิปปินส์ ฯลฯ

มาตรฐานระบบ  PAL 
                ปรับปรุงมาจากมาตรฐาน  NTSC  โดย  DR.WALTER BRUCH  วิศวกรแห่งบริษัทเทเลฟุงเก้น  ประเทศเยอรมัน  และตอนหลังได้ถูกดัดแปลงเพื่อใช้งานจริงๆ  โดย  B.D. LOUGHLIN  (บี.ดี.ลาร์ฟลิน)  แห่งห้องทดลอง  HAZELTINE LABORATORY  เมื่อ ค.ศ.1967  (พ.ศ.2510)  นี้สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของมาตรฐาน  NTSC  และเพื่อให้ใช้ร่วมกับระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ขาวดำในเยอรมันซึ่งเป็นระบบ  625  เส้น  (CCIR.)  โดยมีความถี่เบี่ยงเบนทางแนวตั้ง  50  Hz  และความถี่เบี่ยงเบนทางแนวนอน  15625  Hz  มีใช้ในเยอรมัน  เนเธอร์แลนด์  และอีกหลายประเทศในยุโรปรวมทั้งประเทศไทยด้วย

มาตรฐานระบบ  SECAM
                ระบบนี้ได้ถูกดัดแปลงโดย  HENRI DE FRANCE ชาวฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ.1967 (พ.ศ. 2510)  และถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยบริษัท  THE COMPAGNIE FRANCAISE DE TE LE VISION  ในปารีสและมีใช้แต่ในฝรั่งเศสเท่านั้น  คำว่า  SECAM  ย่อมาจาก Sequential Colour A Memory  เป็นระบบ  SECAM  แบบเก่าเรียกว่าแบบ  SECAM-V  ปัจจุบันได้ดัดแปลงเพื่อใช้กับระบบโทรทัศน์ขาวดำ  625  เส้น  เรียกว่าระบบ  SECAM-H  ใช้ในประเทศแถบตะวันออกกลาง

ปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่ๆ  สามารถนำมาใช้ร่วมกับโทรทัศน์ได้มากขึ้น  เช่น  ชุดโฮม คอมพิวเตอร์  เครื่องเล่น-บันทึกเทปวีดีโอ  และบริการเคเบิ้ลทีวีต่าง ๆ    ซึ่งมีแนวโน้มของราคาถูกลง  แต่กลับมีคุณภาพที่ดีขึ้น
                สัญญาณวีดีโอสามารถบันทึกได้หลายรูปแบบ เช่น ในเทปหรือในดิสค์แต่ละรูปแบบต่างก็จะมีขนาด รูปร่าง ความเร็ว วิธีการบันทึก  และกลไกในการเล่นซ้ำ

                วีดีโอเทป  (Video  Tape)
                คือแถบบันทึกภาพและเสียงเป็นสัญญาณที่อยู่ในรูปของสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า  มีวัสดุในการบรรจุ  3  ลักษณะ คือ
1.            แบบม้วนเปิด (Open Reel o Reel to Reel)  มีขนาดของเนื้อเทปกว้าง 1 หรือ 2 นิ้ว  บรรจุในล้อเหมือนล้อบรรจุฟิล์มภาพยนตร์
2.            แบบกล่อง (Cartridge) มีขนาดของเนื้อเทปกว้าง 1 นิ้ว บรรจุในกล่องที่มีทั้งล้อป้อนและล้อรับแถบบันทึก  สามารถเล่นซ้ำได้
3.            แบบตลับ (Cassette) บรรจุในกล่องที่มีทั้งล้อป้อนและล้อรับแถบบันทึก วางเรียงกัน สามารถเล่นซ้ำได้  มีหลายขนาด เช่น พ นิ้ว(U-MATIC), ฝ นิ้ว(BETAMAX, VHS), 8 มิลลิเมตร(HI 8)
                ระบบ  VHS  ใช้เทปที่มีขนาดของแถบเทปกว้าง 1/2 นิ้ว  ถือได้ว่าเป็นสื่อภาพเคลื่อนไหวที่นิยมอย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจการค้า  เช่นบริการเช่าหนังในระบบ  VHS  เราสามารถที่จะชมรายการโทรทัศน์ได้หลังจากที่รายการนั้น ๆ  แพร่ภาพออกอากาศแล้ว  โดยการอัดรายการโทรทัศน์ดังกล่าวลงบนเทปวีดีโอ  VHS  รวมทั้งยังเป็นที่นิยม  สำหรับมือสมัครเล่น  เพราะมีราคาที่ถูกกว่าฟิล์มภาพยนตร์ขนาด  16  มิลลิเมตร  เป็นตัวเลือกที่ดีอีกตัวเลือกหนึ่งของ  Motion  Media  และยังเป็นสื่อที่เหมาะกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาอีกด้วย
                ระบบวีดีโอขนาด  8  มิลลิเมตร  (Hi  8)  มีขนาดเล็กกว่า  VHS  เหมาะสำหรับใช้บันทึกเหตุการณ์ทั่วไป  นำมาใช้ในการศึกษา  ช่วยให้คนทั่วไปสามารถบันทึกเทปวีดีโอได้  โดยไม่ต้องพึ่งช่างภาพมืออาชีพ  เป็นที่นิยมมากในหมู่ผู้ใช้ทั่วไป

                Videodisc  หรือ  Laser  Disc  วีดีโอดิสค์
                วีดีโอดิสค์ มีสีเงิน  เป็นมันเงา  ใช้การบันทึกในระบบ  Phonograph  Record  โดยภาพและเสียงจะถูกบันทึกเป็นรูปแบบ  Analog 
                วีดีโอดิสค์  บันทึกภาพได้ทั้ง  2  ด้าน  แต่ละด้านบันทึกภาพเคลื่อนไหวได้ด้านละ  30  นาที  หรือถ้าจะบันทึกเป็นภาพถ่ายจะเก็บภาพได้  54,000  ภาพ  มีความสามารถในการค้นหาภาพได้อย่างรวดเร็ว  ในการบันทึกมีการสร้างจุดสำคัญในแต่ละช่วงของแผ่น  เพื่อการค้นหาที่ง่ายขึ้น  เราสามารถนำวีดีโอดิสค์มาต่อพ่วงใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้  ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  เพราะคอมพิวเตอร์จะสามารถอ่านเห็นจุดสำคัญ  ในการชี้ช่วงบนแผ่นดิสค์ก็ได้ 
                ภาพที่ได้จาก Videodisc  นั้น  จะมีความคมชัดกว่าภาพที่ได้จาก  Video  Tape  เพราะมีความละเอียดของเส้นตามแนวนอน  (High  Definition  Television : HDTV )   ถึง  350  เส้น  แต่ภาพที่มาจากวีดีโอเทปมีเพียง  240  เส้นเท่านั้น 
มีคำจำกัดความของ Videodisc  ว่า  คุณภาพของภาพจาก Videodisc  นั้นจะมีคุณภาพเท่าเทียมกับภาพจากฟิล์มภาพยนตร์  16  มิลลิเมตร  จะต่างกันก็ตรงที่ว่า  เมื่อใช้งานบ่อย ๆ  ฟิล์มภาพยนตร์จะมีการเสื่อมของภาพ  (สีจาง  เพี้ยน)  แต่ใน Videodisc  ไม่มีการเสื่อมของภาพเลย  และยังมีคุณภาพเสียงที่ดีกว่าเสียงบนฟิล์มภาพยนตร์ด้วย   ปัจจุบันวีดีโอดิสค์ก็ราคาถูกลงมาก  วีดีโอดิสค์บางแผ่นราคาถูกกว่าวีดีโอเทปเสียอีก  ด้วยเหตุนี้วีดีโอดิสค์จึงเป็นวิธีการฉายภาพที่กำลังนิยมอยู่ในปัจจุบัน
                สื่อการสอนบางเรื่องสร้างขึ้นมาเฉพาะรูปแบบของวีดีโอดิสค์  ไม่มีในรูปแบบของภาพยนตร์หรือวีดีโอเทป  เนื่องจากวีดีโอก็สามารถเล่นที่ละขั้น  หรือทีละเฟรมได้  มีความเร็วในการค้นหาภาพสูง  มีร่องเสียง 2 ร่อง  ทำให้สามารถบันทึกเสียงเป็นระบบ stereo เพื่อใช้ในการแยกช่องของภาษาเป็น 2 ภาษา รวมทั้งยังเลือกร่องเสียงในการเล่นซ้ำให้ใช้เพียงร่องใดร่องหนึ่งได้

                ข้อเสียของวีดีโอดิสค์ คือ  ผู้ใช้ไม่สามารถบันทึกใหม่ด้วยตนเองได้  หรือถ้าสามารถทำได้ก็จะมีค่าใช้จ่ายสูง

ดิจิตอลวีดีโอ  (Digital  Video)
                เมื่อเราสามารถแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณดิจิตอลได้  เราก็สามารถแปลงสัญญาณภาพให้เป็นสัญญาณดิจิตอลได้เช่นกัน  ภาพในระบบดิจิตอลสามารถที่จะแก้ไขส่วนประกอบต่างๆได้เช่น  เนื้อหา  ขนาด  สี  ทั้งยังบันทึกซ้ำได้โดยไม่เสียคุณภาพของสัญญาณเลย  ทำให้เป็นการง่ายที่ครูหรือนักเรียนจะแก้ไข  หรือสร้างเนื้อหาและภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ
                เราจะแปลงสัญญาณภาพจากระบบ  Analog   เช่น  ภาพจากสถานีโทรทัศน์   วีดีโอเทป  วีดีโอดิสค์  มาเป็นระบบติจิตอลได้ด้วยตัวเอง  โดยใช้ระบบทางคอมพิวเตอร์เป็นตัวบันทึก  และในปัจจุบันก็สามารถนำกล้องดิจิตอลมาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภาพในระบบดิจิตอลโดยไม่ต้องทำการบันทึกสัญญาณเลยก็ได้
                มีหลากหลายวิธีในการบันทึกภาพเคลื่อนไหวลงในคอมพิวเตอร์  และ  Quick  time  ก็เป็นรูปแบบหนึ่งที่ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์แมคอินทอช    สำหรับบันทึกภาพเคลื่อนไหวรวมกับภาพกราฟฟิค  หรือข้อความ  แต่ก็มีข้อจำกัดของ Quick  time  คือ  สามารถเล่นซ้ำภาพเคลื่อนไหวด้วยความเร็วเพียง  15  เฟรมต่อวินาที  ซึ่งภาพเคลื่อนไหวชนิดวีดีโอนั้นมีความเร็วถึง  30  เฟรมต่อวินาที  ทำให้ภาพที่เล่นซ้ำนั้นดูเหมือนจะเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ  และในการเล่นภาพซ้ำนั้นก็มีขนาดที่เล็กเพียง  25%  ของจอภาพเท่านั้น

                Compact  Disc  Interactive  (CDI)
                ระบบข้อมูล CDI  นั้นรวมเอาภาพดิจิตอล  เสียง  และเนื้อหาเก็บไว้ในแผ่น  CD  สามารถเล่นซ้ำได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป 
                ระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อผู้บริโภคระดับครอบครัว  ใช้เพื่อการศึกษา  และความบันเทิง  เราจะเห็น  CDI  ในรูปของเครื่องช่วยสอนมากที่สุด  ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามหัวข้อที่ตนสนใจ  และครูผู้สอนยังสามารถสร้างบทเรียนด้วยผลิตภัณฑ์  CDI  นี้ได้ด้วย

Digital  Video  Interactive  (DVI)
                DVI  มีลักษณะการทำงานคล้ายกับ  CDI  แต่สามารถบรรจุภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบของระบบดิจิตอลได้  72  นาที  บนแผน  CD-ROM  เพียง  1  แผ่น  และยังสามารถทำงานพร้อมกับภาพนิ่งเนื้อหาภาพกราฟฟิคต่าง ๆ   รวมทั้งเสียงได้ด้วย




*ภาพยนตร์ (Film)*
                ภาพยนตร์ ก็คือ  วัสดุเซลลูลอยด์  (Celluloid)  ที่นำกระบวนการทางเคมี-แสงมาใช้ในการบันทึกภาพ  เป็นภาพชุดของภาพนิ่งและเกิดการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของภาพแต่ละเฟรมทีละน้อย  เมื่อนำมาฉายซ้ำที่ความเร็ว  24  เฟรมต่อวินาที  จะทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้  เหมือนกับการเห็นภาพเคลื่อนไหวในวีดีโอ  ซึ่งเกิดจากการเห็นภาพติดตา  (Persistence  of  Vision)
ฟิล์มภาพยนตร์  มีมากมายหลายขนาด  แต่ที่นิยมใช้กันมากมี  2  ขนาดคือ  ขนาด  35  มิลลิเมตร  นิยมใช้ในธุรกิจโรงภาพยนตร์  และขนาด  16  มิลลิเมตร  มักถูกนำมาใช้ในวงการศึกษาเพราะมีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าฟิล์มภาพยนตร์ขนาด  35  มิลลิเมตร

ความเป็นมาของภาพยนตร์  และความคาดหวังของเอดิสัน 
Thomas  A . Edison  ได้จัดการสนับสนุนในการพัฒนากล้องที่ใช้ฟิล์มภาพยนตร์เป็นม้วน  (Kinetograph)  และกล้องส่องทางไกล  (Kinetoscope)  เขามีความใฝ่ฝันที่จะให้สิ่งที่เขาค้นคว้าพัฒนาขึ้นนี้  ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมในที่สุด
                ปี  1923  หนังสือพิมพ์  Chicago  Fribune  ได้ดีพิมพ์การ์ตูนเรื่องหนึ่งเล่าถึงความใฝ่ฝันของเอดิสันว่าจะนำภาพเคลื่อนไหวมาใช้ในการศึกษา  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เขียนเกิดแรงกระตุ้นในการเรียนมากขึ้น
                แต่ในความเป็นจริงสื่อภาษาเคลื่อนไหว  (ภาพยนต์)   ไม่ได้มีบทบาททางการศึกษาตามที่  เอดิสันคาดหวังไว้มากนัก  แต่กลับได้รับการพัฒนาเพื่อความบันเทิง  ทั้งนี้เนื่องจากฟิล์มภาพยนตร์ขนาด  35  มิลลิเมตร  ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  จนกลายเป็นฟิล์มภาพยนตร์ขนาดมาตรฐานไป  ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง  เครื่องฉายภาพยนตร์  35  มิลลิเมตร  มีขนาดใหญ่และราคาสูงมาก  ตลอดจนส่วนประกอบของเนื้อฟิล์มภาพยนตร์เป็น  Cellulose  Nitrate  ซึ่งเก็บรักษายาก  ติดไฟง่าย  ต้องตัดเก็บในที่มืด  ผู้ใช้ต้องมีความชำนาญที่เพียงพอ  จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการศึกษาทั่วไป  และเนื่องจากได้ประสบความสำเร็จทางด้านสื่อเพื่อความบันเทิง  จึงทำให้ภาพยนตร์กลับกลายเป็นสื่อที่ล่อแหลม  ในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษาโดยปริยาย
                การนำเอาภาพยนตร์ไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเป็นครั้งแรก  เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่  2  นักจิตวิทยาในกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ผลิตภาพยนตร์เกี่ยวกับกามโรคขึ้นเป็นชุดแรก  ใช้ในการสอนทหาร  จากนั้นมาอีกหลายองค์กรก็ได้ร่วมมือกันผลิตภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อเมริกา  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี  เรื่อง  Yale  Chaonicles  of  Amercans  Photoplays  มีแนวดำเนินเรื่องแบบสารคดีเชิงสำรวจ  แต่ก็ยังเป็นภาพยนตร์ที่ไม่สมบูรณ์นัก  เพราะถูกสร้างขึ้นมาในยุคของภาพยนตร์เงียบ
                และในที่สุดเมื่อสามารถบันทึกเสียงลงบนฟิล์มภาพยนตร์ได้สำเร็จ   ก็มีนักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยในการนำภาพยนตร์มาใช้เป็นสื่อช่วยสอน  กล่าวว่า  การใส่เสียงลงไปบนฟิล์มภาพยนตร์นั้น  เปรียบเสมือนว่าผู้ผลิตทำเกินมาตรฐานของสื่อการเรียนการสอน  อย่างไรก็ดีครูที่จำเป็นต้องบรรยายบทเรียนของภาพยนตร์เองนั้น  จะรู้สึกถึงความยากลำบากนี้  จากเหตุผลนี้ชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีของภาพยนตร์  เสียงทำให้สื่อภาพยนตร์ที่มีอยู่แล้วด้อยค่าและล้าสมัยลงไป
                สงครามโลกครั้งที่  2  ได้สร้างแรงกระตุ้นให้นำภาพยนตร์มาใช้ในการศึกษาเป็นอย่างมาก  สำนักงานเพื่อการศึกษา  ภายใต้การนำของ  Floyde  Brooker  ได้สร้างภาพยนตร์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับงานเทคนิค  มาใช้ในการสอนฝึกทักษะมากมาย  เช่นการสอนฝึกทักษะในการผลิตอาวุธสงครามยามจำเป็นแก่คนอเมริกัน  หน่วยรบก็ได้ผลิตภาพยนตร์มาใช้ในการฝึกทหารเช่นกัน  และได้วิเคราะห์ว่าผลการฝึกทหารทางภาพยนตร์และสื่อวีดีทัศน์อื่น ๆ  ช่วยให้ผลการฝึกประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี  ซึ่งส่งผลให้เกิดความแพร่หลายในหมู่นักวิชาการ  และมีการนำภาพยนตร์มาใช้เพื่อการศึกษาในโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น
                ปี  1950  มีการผลิตภาพยนตร์  8  มิลลิเมตรมาใช้เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะเป็นฟิล์มคอนเซบต์เดียว  (Single-Concept  Films)  เนื่องจากฟิล์มภาพยนตร์  8  มิลลิเมตร  ง่ายต่อการใช้งาน  มีเครื่องฉายขนาดเล็ก  เหมาะกับการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนกลุ่มเล็ก  ที่มีเนื้อหาเพียงเรื่องเดียว  (Film  1  ชุด  ใช้สอนเนื้อหาเรื่องเดียว)  แต่ความคงทนที่มีน้อยของอุปกรณ์และภาพยนตร์  8  มิลลิเมตร  ทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมนัก  ในขณะที่ฟิล์มภาพยนตร์  16  มิลลิเมตร  กลับได้รับความนิยมในวงการศึกษาสูงขึ้น  มีการผลิตชุดภาพยนตร์เพื่อการศึกษาให้สอดคล้องกับเนื้อหาสำคัญของหลักสูตร  เช่น  Encyclopaedia  Britanica  Films  เป็นภาพยนตร์สอนในหลักสูตรวิชาฟิสิกส์ระดับมัธยมปลาย  เป็นภาพยนตร์สีที่มีความยาวของหลักสูตร  162.5  ชั่วโมง
                รวมทั้งโทรทัศน์  ก็ถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนตามหลักสูตรเช่นเดียวกับฟิล์มภาพยนตร์  จากผลประโยชน์อันมหาศาล  ทำให้มีการพัฒนาสื่อภาพเคลื่อนไหว  เพื่อใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น
               
โครงสร้างและขั้นตอนการผลิตฟิล์มภาพยนตร์

                1. โครงสร้างของฟิล์มภาพยนตร์
                                ฟิล์มภาพยนตร์ มีโครงสร้างที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ฐานฟิล์ม และเยื่อไวแสง ซึ่งถูกฉาบไว้ด้วยกันเป็นชิ้น ๆ คล้ายขนมชั้น ฟิล์มขาวดำ ฐานฟิล์มและเยื่อไวแสงจะถูกเคลือบเป็นชั้นๆ รวม 6 ชั้น ดังนี้

                                                                                                                1. สารป้องกันเยื่อไวแสง (Super Coat หรือ
                                                                                                                   Top Coat)
                                                                                                                2. เยื่อไวแสง (Emulsion)
                                                                                                                3. กาวรองพื้น (Subbing Layer)
                                                                                                                4. ฐานฟิล์ม
                                                                                                                5. กาวรองพื้น
                                                                                                                6. สารป้องกันการสะท้อนแสงและการโก่งงอ
                                                                                                                   ของฟิล์ม (Antihalation Backing)

ภาพ โครงสร้างของฟิล์มขาวดำ

               






สำหรับฟิล์มสีมีการเคลือบเยื่อไวแสงที่แตกต่างออกไปจากฟิล์มขาวดำบ้าง มีการเคลือบเยื่อไวแสงออกเป็นชั้น ๆ 8 ชั้น ดังภาพต่อไปนี้

                                                                                                                1. ชั้นสารป้องกันเยื่อไวแสง (Protective Layer)
                                                                                                     2. ชั้นเยื่อไวแสงสีน้ำเงิน (Blue Sensitive Layer)
                                                                                                         3. ชั้นเยื่อกรองแสงสีเหลือง (Yellow Filter Layer)
                                                                                               
                                                                                                        4. ชั้นเยื่อแสงสีเขียว (Green Sensitive Layer)
                                                                                                        5. ชั้นเยื่อขั้นระหว่างสารไวแสง (Interlayer)
                                                                                               
                                                                                                        6. ชั้นเยื่อไวแสงสีแดง (Red Sensitive Layer)
                                                                                                        7. ฐานฟิล์ม (Base)
                                                                                                        8. สารป้องกันการสะท้อนแสง และโก่งงอ
                                                                                                                 ของฟิล์ม (Antihalation Backing)

ภาพ โครงสร้างของฟิล์มสี
               
การเคลือบเยื่อไวแสงของฟิล์มแต่ละบริษัทผู้ผลิตอาจจะไม่ลำดับอย่างนี้ก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของบริษัทผู้ผลิตที่จะผลิตขึ้นมาใช้ให้เหมาะกับงาน
               



ข้อแตกต่างระหว่างโครงสร้างของฟิล์มสีกับฟิล์มขาวดำ คือ
               
1. เยื่อไวแสง ฟิล์มสีมีชั้นเคลือบเยื่อไวแสงมากกว่า คือ เคลือบด้วยเยื่อไวแสงสีน้ำเงิน เขียว แดง ส่วนฟิล์มขาวดำ เคลือบชั้นเดียวด้วยสารไวแสงประเภทเกลือเงิน (Silver Halide Emulsion) ชั้นนี้ฟิล์มขาวดำจึงบางกว่าฟิล์มสี
                2. ฐานฟิล์ม ฟิล์มสีบางกว่าฟิล์มขาวดำ เนื่องจากมีชั้นเยื่อไวแสงหนาอยู่แล้ว จึงจำเป็นต้องกำหนดฐานฟิล์มให้บาง เมื่อเคลือบแสงจะได้ฟิล์มที่ไม่หนาเกินไป ได้สีสันสดใสสวยงามและสะดวกในการใช้งานด้วย
                                                                                   สารป้องกันเยื่อไวแสง

                                                                                                เยื่อไวแสง




                                                                                               
                                                                                           ฐานฟิล์ม


                                                                                สารป้องกันการสะท้อนแสง
                                       ฟิล์มสี                                                                                              ฟิล์มขาวดำ

ภาพ เปรียบเทียบโครงสร้างของฟิล์มสีกับฟิล์มขาวดำ


การเกิดภาพบนฟิล์มภาพยนตร์
                แสงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาพบนฟิล์ม โดยแสงสะท้อนจากสิ่งที่ถูกถ่ายจะไปทำปฏิกิริยากับสารเคมีที่ฟิล์ม คือ ส่วนที่เป็นเยื่อไวแสง เมื่อนำไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์มจะเกิดภาพขึ้นมา ฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายภาพยนตร์มีหลายประเภท ได้แก่
                1. ฟิล์มขาวดำเนกาทีฟ
                2. ฟิล์มขาวดำรีเวอร์ซัล
                3. ฟิล์มสีเนกาทีฟ
                4. ฟิล์มสีรีเวอร์ซัล
                ดังนั้น การเกิดภาพบนฟิล์มแต่ละชนิดจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะได้กล่าวไว้ในหน่วยที่ 11 การล้างและการพิมพ์ฟิล์มภาพยนตร์

คุณลักษณะของฟิล์มภาพยนตร์
                ฟิล์มภาพยนตร์มีลักษณะเป็นแถบบางยาว เมื่อยังไม่ผ่านกระบวนการล้างฟิล์มจะทึบแสง เมื่อล้างฟิล์มแล้วส่วนที่ถูกแสงมากจะทึบ ส่วนที่ถูกแสงน้อยจะใส ความทึบหรือใสขึ้นอยู่กับปริมาณแสงและเวลาที่ทำปฏิกิริยากับฟิล์ม ฟิล์มแต่ละชนิดจะมีลักษณะไม่เหมือนกัน เช่น บางชนิดมีรูหนามเตยข้างเดียว บางชนิดมีรูหนามเตย 2 ข้าง บางชนิดมีเส้นเสียงหรือแถบแม่เหล็กเคลือบไว้ที่ขอบฟิล์ม เป็นต้น อย่างไรก็ตามฟิล์มทุกชนิดนี้จะต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้
                                1. รูหนามเตย
                                2. กรอบภาพสำหรับบันทึกภาพ
                                3. ตัวเลขขอบฟิล์ม
                                4. หน้าฟิล์ม
                                5. หลังฟิล์ม
                                6. แถบเสียงสำหรับฟิล์มต้องการบันทึกเสียง



ภาพลักษณะของฟิล์มภาพยนตร์
                1. รูหนามเตย
                   ฟิล์มทุกชนิดจะต้องมีรูหนามเตย อาจจะมีด้านหนึ่งด้านใดที่ขอบฟิล์ม หรือทั้งสองด้านก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมในการใช้งานของฟิล์มแต่ละชนิด รูปร่างลักษณะของรูหนามเตยของฟิล์มแต่ละชนิดถูกออกแบบให้มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ลักษณะรูหนามเตย มี 5 ประเภท ดังนี้
                               
                                KS                                           1.1 รูหนามเตยแบบ KS (Kodak Standard Hole)

ภาพ ลักษณะรูหนามเตยแบบ KS ได้แก่ ฟิล์ม 65 มม. ที่ใช้สำหรับกล้องถ่ายฟิล์มโพสีทีฟ 70 มม. และฟิล์มโพสีทีฟ 35 มม. ที่ใช้สำหรับพิมพ์ เป็นต้น


BH                                          1.2 รูหนามเตยแบบ BH (Bell and Howell Hole)

ภาพ ลักษณะรูหนามเตยแบบ BH ได้แก่ ฟิล์มเนกาทีฟ 35 มม. ที่ใช้สำหรับกล้องถ่าย เป็นต้น

                                                                                                 
CS                                           1.3 รูหนามเตยแบบ CD (Cinemascope Hole)

ภาพ ลักษณะรูหนามเตยแบบ CS ได้แก่ ฟิล์มโพสิทีฟ 35 มม. ที่ใช้สำหรับด้วยระบบเลนส์       อนามอร์ฟิก นำไปฉายเป็นภาพยนตร์ที่เรียกว่า ซีเนมาสโคป (Cinemascope) เป็นต้น


                                16                                           1.4 รูหนามเตยแบบ 16

ภาพ ลักษณะรูหนามเตยแบบ 16 ได้แก่ ฟิล์มเนกาทีฟ 16 มม. มีรูหนามเตย  2 ข้าง ไม่มีเส้นเสียง ฟิล์ม 16 มม. มีรูหนามเตยข้างเดียว มีเส้นเสียง และฟิล์ม 8 มม. ธรรมดา เป็นต้น



                                Super - 8                              1.5 รูหนามเตยแบบ Super 8

ภาพ ลักษณะรูหนามเตยแบบ Super 8 ได้แก่ ฟิล์มซูเปอร์ 8 มม.
               
รูหนามเตยของฟิล์มทุกชนิดจะต้องเจาะให้ได้มาตรฐานทั้งขนาดและระยะห่างเท่า ๆ กันเพื่อที่จะให้ตัวกวักฟิล์ม เฟือง และกลไกทำให้ฟิล์มเคลื่อนที่ในกล้องภาพยนตร์ เครื่องฉายภาพยนตร์ ตลอดจนเครื่องพิมพ์ฟิล์มดึงฟิล์มให้เคลื่อนที่ตามปกติ
               
2. กรอบภาพสำหรับบันทึกภาพ
                   กรอบภาพสำหรับบันทึกภาพ คือ พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ระหว่างรูหนามเตยกับเส้นเสียง
หรือรูหนามเตย ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนที่เกิดภาพนั่นเอง จะเห็นชัดเจนในฟิล์มที่บันทึกภาพผ่านกระบวนการล้างแล้ว พื้นที่ส่วนนี้จึงจำสำคัญมากเพราะมีเยื่อไวแสงฉาบอยู่ ต้องระวังอย่าให้ส่วนนี้มีรอยขีดข่วนเป็นอันขาด ถ้าฟิล์มเป็นรอยภาพที่ปรากฏบนจอก็จะเป็นรอยด้วย ภาพที่เกิดบนฟิล์มจะไม่ถูกฉายไปทั้งหมด จะเหลือบริเวณขอบของกรอบภาพไว้บ้าง ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ขอบฟิล์มปรากฏบนจอด้วย

                3. ตัวเลขขอบฟิล์ม (Edge Number)
เมื่อฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายแล้วผ่านกระบวนการล้างฟิล์มแล้ว ที่ขอบฟิล์มจะมีตัวเลข
ปรากฏอยู่เรียกว่า ตัวเลขขอบฟิล์ม ซึ่งมีความสำคัญต่อผู้ตัดต่อภาพยนตร์มาก ช่วยให้ผู้ตัดต่อมีความสะดวกในการค้นหาเฟรมภาพใด ๆ ตลอดความยาวของฟิล์ม ตัวเลขขอบฟิล์มจะปรากฏบนฟิล์ม 35 มม. ทุก ๆ ความยาว 1 ฟุต ซึ่งมี 16 เฟรม สำหรับฟิล์ม 16 มม. จะปรากฏทุก 20 เฟรม หรือทุกครึ่งฟุต ดังนั้นตำแหน่งของภาพใด ๆ จึงใช้ค่าตัวเลขบนขอบฟิล์มรวมกับจำนวน 1 - 15 เฟรมในฟิล์ม 35 มม. ส่วนในฟิล์ม 16 มม. ค่าตัวเลขรวมกับจำนวน 1 ถึง 19 เฟรม
ตัวเลขขอบฟิล์มยังบอกให้ทราบชนิดของเยื่อไวแสงและตำแหน่งฟิล์มในม้วนใหญ่ก่อน
ที่จะถูกผ่าแบ่งออกเป็นฟิล์มม้วนเล็ก ตัวเลขขอบฟิล์มเนกาทีฟสามารถพิมพ์ลงบนฟิล์มโพสิทีฟได้ ทำให้เราทราบชนิดของฟิล์มเนกาทีฟที่ใช้บนฟิล์มที่พิมพ์แล้ว โดยไม่ต้องดูที่ฟิล์มเนกาทีฟเลย
ที่ขอบฟิล์มนอกจากจะมีตัวเลขดังกล่าวแล้ว ฟิล์มบางประเภทอาจจะบอกชื่อบริษัทผู้ผลิต เครื่องหมายการค้า ถ้าเป็นฟิล์มที่ไม่ติดไฟก็จะเขียนคำว่า “Safty” หรือคำว่า “Non Flam” หรืออักษร “S” ไว้ระหว่างรูหนามเตย

                4. หน้าฟิล์ม
                   หน้าฟิล์มเป็นส่วนสำคัญที่ฉาบด้วยเยื่อไวแสง จึงเป็นส่วนที่สำคัญมากจะต้องดูแลระวังรักษาเป็นพิเศษไม่ให้เกิดรอยขีดข่วน เวลาจับฟิล์มเพื่อบรรจุเข้าแม็กกาซีนหรือกล่อง ควรจับที่ขอบฟิล์มหรือหลังฟิล์ม ฟิล์มที่ผ่านกระบวนการล้างมาแล้วเวลาตัดต่อก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ผู้ตัดต่อควรจะใส่ถุงมือและตัดต่อในห้องสะอาดปราศจากฝุ่นละออง เพื่อป้องกันไม่ให้ฟิล์มต้นฉบับสกปรกหรือมีรอยขีดข่วนนั่นเอง ซึ่งจะมีผลในการนำไปพิมพ์เป็นฟิล์มสำหรับเผยแพร่เป็นอย่างมากทีเดียว วิธีสังเกตว่าด้านไหนเป็นหน้าฟิล์ม อาจสังเกตได้ดังนี้
                4.1 ฟิล์มที่ยังไม่ได้ถ่ายอยู่ในกระป๋องฟิล์ม เมื่อแกะออกมาฟิล์มจะบรรจุอยู่ใน
คอร์หรือสปูล เมื่อดึงฟิล์มออกมา ฟิล์มที่อยู้ด้านในเป็นด้านหน้า
                4.2 ฟิล์มที่ผ่านกระบวนการล้างแล้ว สังเกตตัวอักษรหรือตัวเลขที่ขอบฟิล์ม ด้านหน้าฟิล์มคือ ด้านตัวอ่านตัวอักษร หรือตัวเลขขอบฟิล์มได้ตามปกติ

                5. หลังฟิล์ม
                   หลังฟิล์มก็คือ ส่วนที่เป็นฐานฟิล์มทั้งหมดรวมทั้งส่วนที่ฉาบด้วยสารป้องกันการสะท้อนแสงด้วย เป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดมีลักษณะตรงกันข้ามกับหน้าฟิล์ม

                6. แถบเสียง (สำหรับฟิล์มบันทึกเสียง)
                   ฟิล์มบางชนิดมีแถบเสียงอยู่ด้วยเพื่อต้องการบันทึกเสียงลงในฟิล์มด้วยขณะถ่ายทำ ถ้าถ่ายทำพร้อมบันทึกเสียงไปด้วยจากกล้อง เมื่อนำฟิล์มไปล้างก็จะได้ฟิล์มที่มีทั้งภาพและเสียง

การเลือกใช้ฟิล์มภาพยนตร์โดยพิจารณาว่าจะใช้ฟิล์มเนกาทีฟหรือรีเวอร์ซัล

                ในประเด็นนี้จะกล่าวถึงการเลือกใช้ฟิล์มสำหรับกล้องถ่ายภาพยนตร์เท่านั้น ฟิล์มที่ใช้คือ ฟิล์มเนกาทีฟ - โพสิทีฟ และฟิล์มรีเวอร์ซัล ซึ่งจะพิจารณาเปรียบเพื่อตัดสินใจในการเลือกใช้ใน 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ด้านการสื่อความหมาย กระบวนการสร้างเป็นภาพยนตร์ งบประมาณที่เกี่ยวกับฟิล์ม และการเก็บรักษา
                1. ด้านการสื่อความหมาย
                   ภาพที่ได้จากฟิล์มทั้ง 2 แบบนี้มีความสามารถที่จะสื่อความหมายให้ผู้ดูเข้าใจได้พอ ๆ กันแทบจะแยกกันไม่ออก แต่ฟิล์มรีเวอร์ซัลจะมีข้อดีกว่าในแง่ที่ให้สีสดใสสวยงามกว่า
                2. ด้านกระบวนการสร้างเป็นภาพยนตร์
ฟิล์มเนกาทีฟสามารถถ่ายอ่อน (Under Exposure) หรือถ่ายแก่ (Over Exposure) ได้มากกว่าฟิล์มรีเวอร์ซัล นั่นคือความผิดพลาดในการจัดแสงหรือให้แสงในฟิล์มเนกาทีฟอาจผิดพลาดได้บ้าง ยังให้ภาพที่ใช้ได้อยู่ แต่ฟิล์มรีเวอร์ซัล ต้องให้แสงที่ถูกต้องจริง ๆ ภาพจึงจะมีสีสันสวยงาม นอกจากนี้ความผิดพลาดในการให้แสงในฟิล์มเนกาทีฟทำให้สีสันไม่สวยงามเท่าที่ควร สามารถแก้สีได้ในแล็บในกระบวนการพิมพ์ฟิล์มได้ สำหรับฟิล์มรีเวอร์ซัลแล้ว ถ้าถ่ายมาผิดพลาดยากที่จะแก้สีให้สวยงามได้
ฟิล์มเนกาทีฟ ล้างแล้วยังฉายดูไม่ได้เพราะภาพยังกลับกับความเป็นจริงอยู่ ต้องนำไปพิมพ์อีกครั้งหนึ่งด้วยฟิล์มโพสิทีฟจึงจะนำไปฉายดูได้ ส่วนฟิล์มรีเวอร์ซัลเมื่อผ่านกระบวนการล้างแล้วได้ภาพเหมือนความเป็นจริงสามารถนำไปฉายดูได้เลย
                ในการตัดต่อภาพยนตร์ ฟิล์มเนกาทีฟที่ล้างแล้วจะต้องนำไปพิมพ์บนฟิล์มโพสิทีฟ เพื่อใช้สำหรับการตัดต่อภาพที่เรียกว่า เวอร์คพรินต์ (Work Print) เมื่อตัดเวอร์คพรินต์เสร็จเป็นเรื่องแล้ว ก็ใช้เวอร์คพรินต์นั้นเป็นแบบสำหรับเลือกช็อต จากต้นฉบับที่เป็นเนกาทีฟที่ถ่ายไว้มาตัดเป็นเรื่องตามเวอร์คพรินต์ นำต้นฉบับที่ตัดแล้วไปพิมพ์พร้อมกับเส้นเสียงเป็นภาพยนตร์ฉบับเผยแพร่หรือฉายต่อไป
                ส่วนฟิล์มรีเวอร์ซัล เนื่องจากมีฐานฟิล์มที่หนามาก ถ้าเราต้องการเพียงฉบับเดียวคือ
เรื่องเดียวที่ได้จากการถ่ายจากฟิล์มต้นฉบับไม่ต้องการพิมพ์เป็นฉบับเผยแพร่ ก็สามารถนำฟิล์มต้นฉบับมาตัดต่อภาพให้เป็นเรื่องได้เพียงแต่ต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดหรือรอยขีดข่วนไว้เป็นพิเศษ ฟิล์มรีเวอร์ซัลมักจะใช้ผลิตภาพยนตร์การศึกษาเป็นส่วนมาก ส่วนฟิล์มเนกาทีฟมักจะใช้ในวงการภาพยนตร์บันเทิงเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามฟิล์มรีเวอร์ซัลก็สามารถนำไปพิมพ์เป็นฟิล์มสำหรับเผยแพร่ได้มาก ๆ เหมือนกัน
                1. ฟิล์มที่มีความไวแสงต่ำ (Low Speed Film) มี ASA 10-50
                2. ฟิล์มที่มีความไวแสงปานกลาง (Medium Speed Film) มี ASA 50-200
                3. ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง (High Speed Film) มี ASA 200-400
                4. ฟิล์มที่มีความไวแสงสูงมาก (Ultra High Speed Film) มี ASA 400 ขึ้นไป

                ฟิล์มที่มีความไวแสงต่ำ หมายถึงฟิล์มที่ต้องการแสงมากในการทำปฏิกิริยากับฟิล์มจึงจะบันทึกภาพได้ดี เหมาะสำหรับการถ่ายสิ่งที่มีความสว่างจ้ามาก ๆ เช่น ถ่ายดวงอาทิตย์ย้อนแสง การเชื่อมโลหะ หาดทรายขาวตอนกลางวัน เป็นต้น
                ฟิล์มที่มีความไวแสงปานกลาง หมายถึงฟิล์มที่ต้องการแสงปานกลางคือ ไม่สว่างจ้าเกินไปและไม่น้อยเกินไป ก็สามารถบันทึกภาพได้ดี เหมาะสำหรับถ่ายกลางแจ้งทั่ว ๆ ไป เช่น ภาพวิวทิวทัศน์ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ทั่ว ๆ ไป
                ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง หมายถึงฟิล์มที่ต้องการแสงน้อยก็สามารถบันทึกภาพได้ เหมาะสำหรับถ่ายนอกอาคารตอนเย็น หรือถ่ายภาพใต้ร่มเงา
                ฟิล์มที่มีความไวแสงสูงมาก หมายถึงฟิล์มที่ต้องการแสงเพียงเล็กน้อยก็สามารถไปทำปฏิกิริยากับฟิล์มแล้วบันทึกภาพได้ เช่น ช่วงเวลาเย็นมาก ๆ ใกล้ค่ำ หรือถ่ายทัศนียภาพตอนกลางคืน เป็นต้น
                อย่างไรก็ตามความไวแสงของฟิล์มจะต้องใช้ให้ถูกกับชนิดของแสงด้วย เช่น ฟิล์มทังสเตน มีความไวแสง ASA 320 หรือ 26 DIN ถ้าจะถ่ายด้วยแสงแดด จะมีความไวแสง ASA 200 หรือ 24 DIN แต่ต้องใช้ฟิลเตอร์แก้สีเบอร์ 85 การวัดแสงจึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองช่างกล้องจะต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องฟิล์มพอสมควร
                โดยหลักการแล้วฟิล์มที่มีความไวแสงต่ำมากๆ จะมีเกรนหรือเนื้อฟิล์มละเอียดที่สุด ฟิล์มที่มีความไวแสงสูงมากจะมีเกรนหยาบ

ลักษณะ หน้าที่ และการทำงานของกล้องภาพยนตร์

                ส่วนประกอบของกล้องภาพยนตร์ แต่ละส่วนต่างมีหน้าที่การทำงานโดยเฉพาะ แต่ทุก ๆ ส่วนต่างก็ทำงานอย่างมีความสัมพันธ์ต่อกัน คือ
                1. ตัวกล้อง (Camera Body) ตัวกล้องเป็นโครงสร้างหลักของกล้องซึ่งเป็นกล่องมืด ป้องกันแสงเข้าจากภายนอก ขณะเดียวกันก็เป็นที่บรรจุส่วนประกอบอื่น และกลไกต่าง ๆ ไว้ ลักษณะและขนาดของตัวกล้องจะมีต่าง ๆ กันไป

                2. เลนส์ (Lens) เลนส์ของกล้องภาพยนตร์มีลักษณะเช่นเดียวกับกล้องถ่ายภาพนิ่ง คือประดิษฐ์จากแก้วใสแผ่นกลมผิวโค้ง โครงสร้างของเลนส์อาจเป็นเลนส์ชุด ซึ่งมีเลนส์หลายชิ้นเรียงกัน เลนส์ของกล้องภาพยนตร์สามารถถอดเปลี่ยนขนาดความยาวของเลนส์ได้ตามต้องการ
                    ภายในกระบอกเลนส์นั้นยังมีแผ่นบังคับแสงหรือไดอะแฟรม (Diaphragm) ติดอยู่ เพื่อ
ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมปริมาณแสงที่เข้าไปยังฟิล์ม นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีแหวนปรับระยะชัด (Focusing Ring)

                3. ประตูฟิล์ม (Film Gate or Camera Gate) มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น ประตูกล้อง (Camera Gate) หรือช่องรับแสงของกล้อง (Camera Aperture) ทำหน้าที่เป็นช่องที่เปิดไว้ให้แสงผ่านเข้าไปในตัวกล้องเพื่อทำปฏิกิริยากับฟิล์มซึ่งอยู่ข้างใน ตามปกติประตูฟิล์มนี้จะถูกปิดด้วยชัตเตอร์ แสงจะผ่านเข้าไปได้ก็ต่อเมื่อองศาของชัตเตอร์หมุนมาตรงกับช่องประตูฟิล์ม และเมื่อช่องที่เปิดขององศาชัตเตอร์หมุนผ่านไปใบชัตเตอร์จะหมุนมาปิดช่องประตูฟิล์ม จังหวะนี้แสงเข้าไม่ได้

                4. กลไกควบคุมจังหวะการเคลื่อนที่ของฟิล์ม (Intermittent Mechanism) เนื่องจากกล้องถ่ายภาพยนตร์บันทึกภาพนิ่งที่ต่อเนื่อง การเคลื่อนที่ตามหลักการนี้ฟิล์มจะไม่เลื่อนไหลตลอดเวลา แต่จะเคลื่อนที่เป็นจังหวะด้วยเวลารวดเร็วคือ เดิน แล้วหยุดเพื่อบันทึกภาพ เดินแล้วหยุดเพื่อบันทึกภาพ สลับกันต่อเนื่องเช่นนี้เรื่อยไป โดยมีอัตราเร็ว (Speed) ของการเคลื่อนที่ของฟิล์มนับได้เป็นจำนวนภาพต่อวินาที
                โดยมีกลไกคอยควบคุมและบังคับการเคลื่อนที่ของฟิล์ม เป็นขั้นตอนดังนี้
                ก. ดึงฟิล์มจากล้อป้อนฟิล์มให้ลงมายังประตูฟิล์ม แล้วทิ้งให้ฟิล์มหยุดเคลื่อนที่ชั่วขณะ
เพื่อรับแสงที่เข้ามาทางประตูฟิล์ม ภาพที่บันทึกได้นี้เรียกว่า “1 เฟรม (Frame)”
                ข. จังหวะที่ทิ้งช่วงนี้ กลไกจะถอนตัวออกเพื่อขึ้นไปเกี่ยวฟิล์มช่วงใหม่ ให้เคลื่อนตัวลงมาแทนฟิล์มช่วงเดิม ซึ่งจะถูกดึงเข้าไปในล้อเก็บฟิล์ม

                เราสามารถบังคับให้กลไกนี้เคลื่อนที่เร็วหรือช้า ซึ่งมีผลให้การบันทึกภาพต่อวินาที มีจำนวนมากขึ้นหรือน้อยลง แต่โดยทั่วไปกลไกดังกล่าวแยกได้เป็นสองชนิด คือ
                4.1 กลไกประเภทกวัก (Claw Shutter or Pull - Dawn Claw) ส่วนใหญ่กวักมีลักษณะเป็นตาขอ ทำงานดังนี้
                                1. ตัวกวักจะเกี่ยวฟิล์มตรงรูหนามเตย ดึงลงมาที่ประตูฟิล์ม
                                2. ตัวกวักปลดตัวออกจากรูหนามเตย ฟิล์มจะหยุดนิ่งที่ประตูฟิล์ม จังหวะนี้เองชัตเตอร์จะหมุนเอาส่วนเปิดมาอยู่ช่องประตูฟิล์มพอดี ทำให้แสงผ่านกระทบฟิล์ม
                                3. ตัวกวักกลับขึ้นไปเกี่ยวฟิล์มเพื่อดึงลงมา จังหวะนี้ชัตเตอร์หมุนเอาส่วนที่เป็นใบมาปิดประตูฟิล์มพอดี แสงจะไม่กระทบฟิล์มช่วงนี้
                กลไกจะทำงานสัมพันธ์กันเป็นวงจรเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ
                4.2 กลไกประเภทสลักบังคับ (Pilot Pin or Register Pin) กลไกประเภทนี้มีลักษณะการทำงานคล้ายกลไกประเภทกวัก แต่แตกต่างกันที่ใช้กลไกสองชิ้นทำงานประสานสัมพันธ์กันแบบสองจังหวะ
                                1. สลักตัวล่างจะทำหน้าที่เป็นตัวฉุดดึงฟิล์มขึ้นมาที่ประตูฟิล์ม
                                2. สลักตัวล่างปลดตัวออกเพื่อไปดึงฟิล์มขึ้นมาอีก ขณะเดียวกับที่สลักตัวบนเข้าทำงานจังหวะที่สองด้วยการวิ่งเข้ามายึดตรงรูหนามเตยของฟิล์มไว้ วิธีนี้จะทำให้จังหวะหยุดของฟิล์มเพื่อรองรับแสงสงบนิ่งยิ่งขึ้น เพราะสลักตัวที่สองช่วยเสริมการทำงานของแผ่นกดฟิล์มอีกแรงหนึ่ง

                5. แผ่นกดฟิล์ม (Pressure Plate) แผ่นกดฟิล์มถือเป็นส่วนหนึ่งของประตูฟิล์ม เพราะจะต้องทำงานร่วมกันอย่างเหมาะเจาะ โดยต้องเหลือช่องแคบ (Film Channel) ให้ฟิล์มเลื่อนผ่านไปได้ แผ่นกดฟิล์มเป็นแผ่นโลหะผิวอื่น อาจเคลือบด้วยโครเมียมซึ่งทำหน้าที่ประกบฟิล์มด้านหลัง (Film Base) ให้แนบกับประตูในช่วงของการบันทึกภาพให้มีความนิ่งและเที่ยงมากขึ้น แผ่นกดฟิล์มมีความสำคัญตรงที่ช่วยให้ฟิล์มไม่โค้งหรือโก่งออกซึ่งจะมีผลเสียทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนของระยะชัดของภาพ

                6. ล้อหนามเตย (Sprocket Wheel) เป็นล้อที่มีซี่เฟืองยื่นออกมารอบ ๆ จึงเรียกว่าหนามเตย ทำหน้าที่ช่วยในการลำเลียงฟิล์มโดยซี่เฟืองจะเสียบเข้ากับรูหนามเตยของฟิล์ม เมื่อล้อหมุนก็จะพาให้ฟิล์มเคลื่อนตามไปด้วย โดยจะมีข้อเฟืองตัวอื่นคอยรับฟิล์มส่งต่อไปเรื่อย ๆ ตลอดเวลาที่ล้อหมุนอยู่

                7. ล้อป้อนฟิล์ม (Supply Roll or Supply Chamber) คือล้อเก็บฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายภาพยนตร์เมื่อกล้องเริ่มทำงาน ฟิล์มจะถูกส่งออกมา และถูกลำเลียงให้เคลื่อนไปด้วยล้อหนามเตย ฟิล์มจะมีวงโค้งหรือลูป (Loop) ก่อนถูกส่งขึ้นไปบันทึกภาพที่ประตูฟิล์ม
                    ลูป (Loop) คือฟิล์มที่ถูกทำให้อ้อมโค้งและเกิดความยาวมากกว่าระยะทางตรง
ธรรมดา ระหว่างช่วงล้อหนามเตยกับช่วงทางวิ่งก่อนถึงประตูฟิล์ม ฟิล์มที่อ้อมโค้งในจังหวะที่พอเหมาะจะเป็นการระงับอาการกระตุกหรือสั่นของฟิล์มก่อนถึงจุดบันทึกภาพที่ประตูฟิล์ม หากจังหวะของการตีวงโค้งไม่พอดีจะทำให้ฟิล์มเดินไม่ราบเรียบ เกิดการสั่นหรือกระตุกซึ่งจะทำให้ภาพที่บันทึกได้สั่นหรือพร่ามัวในที่สุด
               
8. ล้อเก็บฟิล์ม (Take - up Reel or Take - up Chamber) คือล้อที่ทำหน้าที่เก็บฟิล์มที่ผ่านการถ่ายทำเสร็จเรียบร้อยแล้วเข้าที่
                   กล้องภาพยนตร์บางตัวสามารถประกอบกับแม็กกาซีน (Magazine) เก็บฟิล์มเพื่อใช้
ภ่ายภาพยนตร์ ซึ่งช่วยทำให้ถ่ายภาพยนตร์ได้นานขึ้น เพราะแม็กกาซีนบรรจุฟิล์มได้หลายขนาด เช่น 200, 400 , 600 จนถึง 1,000 ฟุต การร้อยฟิล์มจากแม็กกาซีนเข้าตัวกล้องต้องผ่านล้อป้อนฟิล์มและล้อเก็บฟิล์ม

                9. ชัตเตอร์ (Shutter) ทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการเปิดและปิดให้แสงผ่านประตูฟิล์มเข้าไปกระทบกับฟิล์ม ชัตเตอร์ของกล้องถ่ายภาพยนตร์เป็นแผ่นโลหะบางกลมทำงานโดยการหมุนรอบตัวเอง แผ่นชัตเตอร์จะไม่เป็นแผ่นกลมสมบูรณ์ 360 องศา แต่จะเว้าจากศูนย์กลาง มีความกว้างเป็นมุมองศาขนาดต่าง ๆ ซึ่งการออกแบบส่วนเว้าของชัตเตอร์เองมีผลต่อการทำงานและความสามารถของตัวชัตเตอร์ ในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงปริมาณแสงที่จะบันทึกลงในฟิล์ม

ภาพ แสดงลักษณะการทำงานของชัตเตอร์กล้องถ่ายภาพยนตร์

               



โรตารีชัตเตอร์ (Rotary Shutter) เป็นรูปครึ่งวงกลม ส่วนเว้านั้นมีมุมกว้างถึง 180 องศา หรือน้อยกว่าและการหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบจะทำให้บันทึกภาพได้หนึ่งเฟรม กล่าวคือในระหว่างหมุนเมื่อส่วนช่องว่างหรือส่วนเว้าหมุนมาถึงหน้าประตูฟิล์มก็จะปล่อยให้แสงผ่านเข้าไปถูกฟิล์ม และเมื่อหมุนต่อไปส่วนใบก็จะหมุนปิดประตูฟิล์ม ทำให้แสงผ่านไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ โรตารีชัตเตอร์นี้มีข้อเสียตรงที่ขาดสมดลในตัวเองเพราะน้ำหนักที่ข้างหนึ่งเป็นแผ่นโลหะครึ่งวงกลม ขณะที่อีกด้านหนึ่งว่างเปล่าไม่มีน้ำหนักถ่วงทำให้ใบชัตเตอร์มีปัญหาการสั่นสะเทือน
               
บัตเตอร์ฟลายชัตเตอร์ (Butterfly Shutter) แม้สัณฐานจะเป็นแผ่นกลม แต่ก็ต่างจากโรตารีชัตเตอร์ตรงที่มีใบสองใบอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนเว้าของปีกทั้งสองเป็นมุมกว้าง 90 องศา การออกแบบเช่นนี้แก้ปัญหาขาดความสมดุลได้ดี บัตเตอร์ฟลายชัตเตอร์นี้มีพิเศษตรงที่การหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบจะบันทึกภาพได้สองเฟรม

                วาริเอเบิลชัตเตอร์ (Variable Shutter) ชัตเตอร์ที่เปลี่ยนองศานี้ได้ช่วยทำให้เกิดประสิทธิผลพิเศษขึ้น เพราะทำให้ผู้ถ่ายสามารถเลื่อนประมาณแสงที่จะบันทึกลงในฟิล์มตามความต้องการของฉากกั้น กล้องภาพยนตร์บางยี่ห้อจึงทำเทคนิคพิเศษเฟดอิน (Fade in) เฟดเอาต์ (Fade out) และดิสโซลฟ์ (Dissolve) ได้โดยไม่ต้องผ่านขบวนการของแล็บ
                เป็นที่ทราบกับดีว่าฟิล์มที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน  จะต้องได้รับการเก็บรักษาที่ดี  ซึ่งมีวิธีการดังนี้

การเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์ก่อนผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม
                ฟิล์มภาพยนตร์ผลิตด้วยสารเคมีต่าง ๆ จะมีคุณสมบัติเสื่อมสภาพในตัวของมันเองอยู่แล้ว  นับตั้งแต่เริ่มผลิตเสร็จออกจากโรงงานก็เสื่อมได้ทันที  อาจจะมีอายุสั้นได้เพียง  1  หรือ  2  ชั่วโมงก็ได้  ถ้าฟิล์มนั้นถูกรังสีเอกซ์ (X-ray) หรือความร้อนจัด  แต่อาจจะอยู่ได้นานเป็นปี ๆ  ถ้าเก็บไว้ในตู้เย็น

การเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์ก่อนการบันทึกภาพ
                โดยทั่วไปแล้วฟิล์มภาพยนตร์จะถูกบรรจุไว้ในกระป๋องโลหะปิดคาดด้วยเทปกาวอย่างดี  ไม่ควรแกะเทปกาวออกถ้ายังไม่มีการบันทึกภาพ  สิ่งสำคัญที่ทำให้ฟิล์มเสื่อมคุณภาพลงได้มากคือ
                1.  ความชื้นสัมพัทธ์  หมายถึงสัดส่วนของไอน้ำที่มีในอากาศต่อปริมาณไอน้ำที่สามารถรับได้มากที่สุด  แสดงเป็นร้อยละ  จุดอิ่มตัวความชื้นเท่ากับร้อยละ  100  ถ้ามีไอน้ำมากความชื้นสัมพัทธ์ก็จะสูง  ไม่ควรเก็บไว้ในที่มีความชื้นสัมพัทธ์เกินร้อยละ  70  เพราะถ้าเกินจากนี้กล่องฟิล์มจะเปียก  ทำให้ขึ้นราและเป็นสนิมได้  ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำจะไม่เป็นอันตรายอะไรกับฟิล์ม
               
                2.  ความร้อน  การเก็บฟิล์มก่อนที่จะนำไปบันทึกภาพควรเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ  ไม่ว่าจะเป็นฟิล์มสีหรือขาวดำ  ถ้าเก็บไว้ในที่ที่อุณหภูมิ  55  องศาฟาเรนไฮต์  หรือ  13  องศาเซลเซียส  หรือต่ำกว่า   ถ้าต้องการเก็บไว้ให้มีอายุนานก็ควรเก็บไว้ในตู้เย็น  หรือช่องแช่น้ำแข็งซึ่งมีอุณหภูมิ  0  ถึง  -10  องศาฟาเรนไฮต์  หรือ  -18  ถึง  -23   องศาเซลเซียส  ฟิล์มที่เก็บไว้ในลักษณะนี้ก่อนนำไปบันทึกภาพจะต้องนำฟิล์มมาปรับอุณหภูมิ (warm up) เสียก่อน  โดยการนำมาวางไว้นอกตู้เย็นหรือห้องเย็นให้มีอุณหภูมิปกติ  ทั้งนี้เพื่อป้องกันการจับค้างของไอน้ำกับฟิล็มเป็นรอยด่างได้และจะทำให้ฟิล์มเคลื่อนที่ไม่สะดวกในกล้องถ่ายได้
                3.  ก๊าซและสารกัมมันตภาพรังสี  ก๊าซที่ทำให้ฟิล์มภาพยนตร์เสื่อมสภาพ  เช่น  ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)  ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide)  ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) แอมโมเนีย (Ammonia) ก๊าซที่เรืองแสง (Illuminating gas) ไอเสียเครื่องยนต์ (Motor exhaust) หมอกควันสารละลาย (Vapors of solvent) และลูกเหม็น (Mothballs) เป็นต้น  ก๊าซหรือไอระเหยจากสารเหล่านี้อาจจะค่อย ๆ ซึมผ่านเทปกาวเข้าไปทำปฏิกิริยากับฟิล์มอย่างช้า ๆ ทำให้ฟิล์มเสื่อสภาพลงได้
                ส่วนสารกัมมันตภาพรังสีที่เป็นอันตรายต่อฟิล์ม  ได้แก่  รังสีเอกซ์ (x-ray)  เรเดียม (radium)  และสารที่ให้กัมมันตภาพรังสีอื่น ๆ  สิ่งที่ควรระมัดระวังมากอีกอย่างหนึ่งก็คือการส่งฟิล์มไปล้างต่างประเทศหรือการนำฟิล์มเข้าผ่านสารการบิน ที่สนามบินมักมีการตรวจสินค้าโดยการผ่านรังสี (x-ray)  รังสีเอกซ์จะสามารถทำให้เกิดการมืดมัน (fog) สูญเสียความดำเข้มของสีดำ  การผันแปรของสีและริ้วเส้นปรากฏบนฟิล์ม  อย่าเก็บฟิล์มไว้ในรถยนต์นาน ๆ หรือวางฟิล์มไว้ใกล้เครื่องยนต์  ถ้าจำเป็นต้องเดินทางไกลใช้เวลานาน ๆ กล่องฟิล์มควรเก็บไว้ในกล่องที่กันความร้อยได้และควรเดินทางด้วยรถปรับอากาศ  เมื่อแกะกล่องฟิล์มแล้วควรรีบบรรจุเข้าแมกกาซีนหรือบรรจุเข้ากล่องนำไปถ่ายทำทันที  ระหว่างถ่ายทำถ้าถ่ายกลางแจ้งแดดจัดนาน ๆ  ฟิล์มอาจจะเสื่อมสภาพได้  ควรใช้ร่มบังแสงแดดหรือาจใช้บาร์นีช่วยก็ได้  บาร์นีเป็นถุงคลุมกล้องภาพยนตร์  ใช้ป้องกันทั้งความร้อนและความหนาวจัดได้

การเก็บรักษาฟิล์มหลังการบันทึกภาพ
                เมื่อถ่ายทำเสร็จแต่ละม้วนจะต้องนำแมกกาซีนเข้าห้องมืดหรือถุงมืดเพื่อบรรจุฟิล์มกลับเข้ากระป๋องฟิล์มและคาดเทปไว้เหมือนเดิม  พร้อมทั้งจดรายละเอียดเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่ถ่ายในม้วนนั้น ๆ   เสร็จแล้วรีบส่งเข้าแลปเพื่อล้างทันที   ไม่ควรให้ฟิล์มค้างในกล้องหรือในแมกกาซีนเป็นอันขาด
                ในการล้างฟิล์มขาวดำ  ถ้าล้างฟิล์มแล้วมีไฮโป (hypo) หลงเหลืออยู่ที่ฟิล์มฟิล์มก็จะจางเร็วขึ้น  โดยเฉพาะถ้าอยู่ในที่ที่มีความชื้นและอุณหภูมิสูงยิ่งทำให้ภาพจางเร็วยิ่งขึ้น  ถ้าเป็นฟิล์มสีไฮโปก็จะทำให้สีจางเพี้ยน  ได้ภาพไม่ตรงตามความเป็นจริงได้
                ข้อแนะนำเกี่ยวกับการเก็บรักษาฟิล์มสีที่ล้างแล้ว (อาจจะใช้ในฟิล์มขาวดำได้ด้วย)  มีดังนี้
                1.  ฟิล์มทุกม้วนจะต้องผ่านการล้างเอาสารเคมีที่ไม่จำเป็นออกให้หมด  โดยเฉพาะไฮโป (thiosulfatesalts)  มีได้ไม่เกินระดับข้อจำกัดตามคำแนะนำของฟิล์มแต่ละชนิดกำหนด
                2.  ฟิล์มต้องผ่านการล้างน้ำจนสะอาดตามเวลาที่กำหนดจึงจะได้ภาพที่คงทน
                3.  การใช้สารป้องกันคราบน้ำ  น้ำยาทำความสะอาดฟิล์มหรือน้ำยากันเชื้อรา  ควรพิจารณาให้รอบคอบเพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อฟิล์มได้
                4.  ฟิล์มที่ทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดฟิล์มก่อนนำไปใช้  ต้องล้างน้ำและหล่อลื่นปรับใหม่
                5. ไม่ควรเก็บฟิล์มไว้ในที่ที่มีสภาพเป็นกรดหรือไอของซัลเฟอร์ไดออกไซด์  เปอร์ออกไซด์หรือไฮโดรเจนซัลไฟด์
                ถ้าจะเก็บฟิล์มช่วงเวลาสั้น ๆ ฟิล์มขาวดำควรเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า  75  องศาฟาเรนไฮต์ (24  องศาเซลเซียส)  ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่าร้อยละ  60  ถ้าต้องการเก็บไว้นาน ๆ ควรเก็บที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า  70  องศาฟาเรนไฮต์ (21  องศาเซลเซียส) ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ  15  ถึง  50
                ในกรณีที่ไม่ค่อยได้นำฟิล์มมาใช้และต้องการให้ฟิล์มมีอายุยาวนานมาก ๆ ควรเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิ  0  องศาฟาเรนไฮต์หรือต่ำกว่า
                สำหรับการเก็บฟิล์มสีระยะสั้น  ควรเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิ  70  องศาฟาเรนไฮต์ (21  องศาเซลเซียส) ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ  40  ถึง  50  ถ้าต้องการเก็บไว้นาน ๆ มีหลายวิธีและมีรายละเอียดอีกมาก  ขอแนะนำให้ศึกษาจากหนังสือ  “Preservation  of   Motion   Picture  Color  Films   Having   Permanent  Value ”   Journal  of  the  SMPTE  ,  79 : 1011-18  November,1970
                นอกจากจะเก็บรักษาฟิล์มไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม  ภาพยนตร์ที่พิมพ์เป็นเรื่องแล้ว  ถ้าบันทึกเสียงด้วยระบบแมกเนติกคือใช้ระบบแถบแม่เหล็กต้องระมัดระวังพิเศษ  ระวังอย่านำภาพยนตร์ระบบนี้ไปวางไว้ใกล้บริเวณที่เป็นสนามแม่เหล็ก  คือ  ใกล้สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยแม่เหล็ก  เช่น  ลำโพง  ไดนาโม  เป็นต้น  เสียงจะถูกลบทำให้เกิดการขาดๆ หาย ๆ เสียงจะไม่สมบูรณ์
                หน่วยงานที่ผลิตภาพยนตร์จำนวนมากๆ เช่น  หน่วยงานการศึกษาที่ผลิตภาพยนตร์การศึกษาเพื่อบริการแก่หน่วยงานต่าง ๆ ควรจัดระบบการจัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่  ง่ายแก่การค้นหาและให้บริการ  ฟิล์มควรใส่กล่องไว้เรียบร้อย  วางในแนวตั้งบนชั้นสำหรับวางฟิล์มโดยเฉพาะ  ควรจัดระเบียบการยืมและจัดทำคู่มือแนะนำการใช้ภาพยนตร์อย่างถูกวิธี

การทำความสะอาดและหล่อลื่นฟิล์มภาพยนตร์
                ฟิล์มภาพยนตร์ที่พิมพ์เสร็จใหม่ ๆ ควรทำความสะอาดและหล่อลื่นด้วยแล็กเกอร์  ขี้ผึ้งหรือน้ำยาหล่อลื่นเสียก่อนที่จะนำไปฉาย  เพื่อป้องกันความหนืดซึ่งอาจจะทำให้รูหนามเตยชำรุดฉีกขาดในเครื่องฉายได้  ความหนืดที่เกิดจากฟิล์มเสีอดสีที่ประตูฟิลมจะทำให้เนื้อเยื่อของฟิล์มหลุดติดอยู่นาน ๆ จะจับตัวกันแข็ง  ทำให้ฟิล์มเป็นรอยได้  ถ้าฟิล์มเคลื่อนที่ไม่ดีหรือมีเสียงดังที่เครื่องฉายก็อาจจะเป็นเพราะว่าไม่ได้ทำความสะอาดและหล่อลื่นฟิล์มจากแล็ปนั้นเอง
                อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดฟิล์ม  ได้แก่  ผ้าสักหลาด  ผ้าแพรหรือไนลอน  ผ้าฝ้ายนุ่ม ๆ  ผ้าทุกชนิดควรเป็นสีขาว  ขนไม่หลุดง่าย  ควรทำความสะอาดก่อนนำมาใช้  ส่วนน้ำยาทำความสะอาด  ได้แก่  คาร์บอนเตตราคลอไรด์  (cabon  tetrachloride)  ไตรคลอโรเอธิลีน  (trichloroethylene) หรือเมธิลคลอโรฟอร์ม (Methyl chloroform) โดยใช้ผ้าชุบน้ำยาเหล่านี้เช็ดฟิล์ม  
                ขั้นตอนในการทำความสะอาดฟิล์มภาพยนตร์ได้แก่
                1.  ม้วนเก็บฟิล์มไว้ในรีลเปล่า  (take  up  reel)
                2.  หมุนฟิล์มกลับไว้ในม้วนเก็บฟิล์ม  (Sopply reel) โดยใช้ผ้าชุบน้ำยาทำความสะอาดฟิล์มประกบฟิล์มไว้
                3.  ใช้มือบีบให้ฟิล์มอยู่ระหว่างผ้า
                4.  หมุนให้ฟิล์มเคลื่อนที่ช้า ๆ เพื่อให้น้ำยาระเหยได้ทัน
                5.  หมั่นชุบน้ำบ่อย ๆ เพราะน้ำยาระเหยเร็วมาก
                6.  เปลี่ยนผ้าหรือกลับผ้าเอาด้านสะอาดเช็ดฟิล์ม
                กรณีที่น้ำยาทำความสะอาดฟิล์มไม่มีน้ำยาหล่อลื่นฟิล์มผสมอยู่ด้วย  ต้องใช้ฟิล์มไปหล่อลื่นทีหลัง  รอยหรือทางต่าง ๆ ที่ปรากฏหลังการหล่อลื่นอาจเช็ดออกด้วยผ้านุ่ม ๆ ได้สีที่ติดกับผ้าที่ใช้ทำความสะอาดฟิล์มไม่มีปัญหาอะไร  ไม่ใช่เป็นสีที่หลุดจากฟิล์มแต่เป็นสีที่เกิดจากน้ำยา
                ถ้าเป็นฟิล์มภาพยนตร์ที่บันทึกเสียงด้วยระบบแถบแม่เหล็ก  ควรใช้ฟิล์มที่ไม่ใช้ไปทดสอบการทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาหล่อลื่นเสียก่อน  เพราะน้ำยาอาจจะซึมเข้าเส้นเสียง  ถ้าเส้นเสียงเกิดรอยด่างก็ควรเปลี่ยนน้ำยา  เช่น  ทำความสะอาดด้วยฟรีออน (FREON  T.F.)  หรือของผสมระหว่างไซโครเฮกเซน (cyclohexane)  กับคาร์นบอนเตตราคลอไรด์ในอัตรา  1 : 1  สารละลายเหล่านี้แม้จะมีคุณสมบัติในการทำความสะอาด  แต่ก็เป็นสารมีพิษและติดไฟง่ายในการใช้ต้องระมัดระวังมาก

                การทำความสะอาดฟิล์มนอกจากจะมีวิธีธรรมดาแล้ว  ยังมีเทคนิคใหม่ๆ อีกเช่น  ระบบเสียง ( ultra – sonic)  ตามปกติใช้ทำความสะอาดฟิล์มเนกาทีฟที่เป็นต้นฉบับ  ก่อนที่จะพิมพ์เป็นฉบับเผยแพร่โดยใช้หลักการสั่นสะเทือนของเหลวซึ่งจะทำความสะอาดฟิล์มแล้วผ่านฟิล์มลงไป  ฟิล์มนี้ถูกกระตุกด้วยคลื่นเสียง 
                นอกจากนี้ฟิล์มภาพยนตร์ที่ฉายไปหลายๆ ครั้ง  อาจเกิดฝุ่นละอองเกาะติดฟิล์ม  ยังมีวิธีขจัดฝุ่นละอองอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า นิวเคลียร์คลีนนิง  (nuclear  cleaning)  โดยใช้สารกัมมันตภาพรังสี  ซึ่งให้รังสีแอลฟา  รังสีแอลฟานี้จะไปลบไฟฟ้าสถิตที่มีอยู่ในฟิล์มออก  คือฟิล์มที่ผ่านออกจากเครื่องฉายหรือส่วนประกอบของเครื่องใดๆ จะมีไฟฟ้าสถิตเกิดขึ้นและดูดฝุ่นละอองต่างๆ ให้ติดฟิล์ม  ครั้นเมื่อฟิล์มวิ่งผ่านเทปทำความสะอาดในทิศทางเดินตรงกันข้าม  เทปทำความสะอาดนี้ทำด้วยกระดาษหรือผ้าจะดึงดูดฝุ่นละอองออกจากฟิล์มจะผ่านรังสีแอลฟา  ไฟฟ้าสถิตภายในฟิล์มจะหมดไปก่อนจะพับเก็บฟิล์มเข่าม้วน

ระบบการบันทึกเสียงในภาพยนตร์
                ระบบของการบันทึกเสียงลงในภาพยนตร์ที่เป็นที่นิยมใช้กันอยู่นั้น  แบ่งได้ดังนี้

1.  แบ่งตามวิธีการบันทึกเสียงขณะถ่ายทำ

                1.1  การบันทึกเสียงด้วยระบบเดี่ยว (single system)  คือระบบของการถ่ายภาพและบันทึกเสียงไปพร้อม ๆ กัน  ลงบนฟิล์มม้วนเดียวกัน  โดยใช้กล้องที่ออกแบบมาเพื่อการรวมงานทั้งสองอย่างนี้เข้าด้วยกันโดยเฉพาะ  ระบบนี้เหมาะสำหรับงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องมีการตัดต่อซับซ้อนนัก  เช่น  งานข่าวหรืองานสัมภาษณ์บุคคล  เพราะหากจะต้องตัดต่อมาก ๆ อาจเกิดความยุ่งยากขึ้น  เนื่องจากระบบนี้หัวบันทึกเสียงที่บันทึกลงไปบนฟิล์มม้วนเดียวกันนั้นไม่ตรงกัน  โดยเสียงจะอยู่ก่อนหน้าภาพประมาณ  20  เฟรมสำหรับภาพยนตร์  35  มิลลิเมตร  และ  26  เฟรมสำหรับภาพยนตร์  16  มิลลิเมตร

                1.2  การบันทึกเสียงด้วยระบบคู่ (double system)  คือ  ระบบของการบันทึกเสียงควบคู่ไปพร้อม ๆ กับการถ่ายภาพ  โดยกล้องถ่ายภาพยนตร์และเครื่องบันทึกเสียงจะอยู่แยกกัน  แต่จะมีระบบที่เรียกว่าอินเทอร์ล็อค(interlook)เพื่อให้การบันทึกภาพและเสียงซิงก์ (synchronize)กันโดยการส่งสัญญาณพัลซ์(pulse) ที่ควบคุมมอเตอร์ของกล้องถ่ายภาพยนตร์ไปบันทึกไว้บนแถบหรือแทร็ก (track)  ของเทปสารแม่เหล็กในเครื่องบันทึกเสียง เรียกว่า แทร็กสัญญาณพัลซ์ (pulse track)  ซึ่งสัญญาณนี้จะเป็นตัวควบคุมให้เสียงกับภาพซิงก์กันได้พอดี  สัญญาณพัลซ์นี้เกิดจากความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับที่ไปควบคุมการทำงานของมอเตอร์ของกล้องถ่ายภาพยนตร์นั่นอง  หรือในกรณีที่ใช้แระแสไฟตรงจากแบเตอรี่จะต้องให้กระแสไฟตรงผ่านตัวสร้างสัญญาณพัลซ์ (pulse generator)  ที่ติดกับกล้องเป็นพิเศษ  เดิมทีเดียวจะมีสายพัลซ์เชื่อมระหว่างตัวกล้องกับเครื่องบันทึกเสียง  แต่ถ้าไม่ต้องการให้มีสายพัลซ์เชื่อมให้ยุ่งยากหรืในกล้องที่ไม่มีตัวสร้างสัญญาณพัลซ์  ปัจจุบันอาจใช้แบตเตอรี่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ของกล้องแบบที่ควบคุมด้วยคริสตัลสปีด (crystal speed control)  ติดเข้ากับตัวกล้องแทนก็ได้  สัญญาณพัลซ์ที่เกิดขึ้นจากการควบคุมด้วยคริสตัลสปีดนี้จะถูกส่งมาบันทึกในแทร็กสัญญาณพัลซ์ที่เครื่องบันทึกเสียได้โดยตรง  โดยไม่ต้องใช้สายต่อระหว่างตัวกล้องกับเครื่องบันทึกเสียงแต่อย่างใด  สัญญาณพัลซ์มีค่าความถี่ประมาณ  50-10  เฮิร์ตซ์  สำหรับกล้องระดับงานอาชีพอย่างอารีเฟล็กซ์ (arriflex)  และเอแคลร์ (eclair)
                หลังจากทำการบันทึกเสียงควบคู่กับการถ่ายภาพแล้ว  เสียงจากเทปสารแม่เหล็กจะถูกถ่ายทอดลงในฟิล์มเสียง (Magnetic recording film)  ซึ่งมีขนาดและรูหนามเตยเช่นเดียวกับฟิล์มถ่ายภาพทุกประการ  โดยสัญญาณพัลซ์ที่อยู่ในแทร็ก  สัญญาณพัลซ์จะควบคุมให้เสียงที่บันทึกซิงก์กับภาพมานั้น  ถูกถ่ายทอดลงบนฟิล์มเสียงในจังหวะที่ซิงค์กันกับภาพได้พอดีอีกต่อหนึ่ง  ดังนั้นภาพในฟิล์มภาพจะตรงกับเสียงในฟิล์มเสียงพอดีแบบเฟรมต่อเฟรม  ทำให้การตัดต่อทั้งภาพและเสียงให้กระชับและยังคงซิงก์กันอยู่ได้นั้นสามารถทำได้อย่างสะดวกและง่ายดาย  การบันทึกเสียงด้วยระบบคู่นี้จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างมากในวงการผลิตภาพยนตร์เสียงในปัจจุบัน

2.  แบ่งตามลักษณะของเส้นเสียง

                2.1  เส้นเสียงแบบแมกเนติก (magnetic soundtrack)  เป็นเส้นเสียงที่ใช้การบันทึกเสียงลงบนแถบสารแม่เหล็ก (นิยมใช้พวกสารอ๊อกไซด์ของเหล็ก)  โดยใช้ระบบการบันทึก  การลบและการเพลย์แบ็ค (playback)  เช่นเดียวกับเทปบันทึกเสียงทั่ว ๆ ไป  ข้อดีของเส้นเสียงแบบนี้คือสามารถบันทึกเและลบเสียงได้  อีกทั้งยังเลย์แบ็คเพื่อฟังผลการบันทึกเสียงได้ทันที  แต่เส้นเสียงแบบนี้ก็มีผลเสียคือ  ง่ายต่อการถูกลบทิ้งและหากเก็บรักษาไม่ดีสัญญาณเสียงที่เป็นแม่เหล็กอาจถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพลงได้  เส้นเสียงแบบนี้จึงเหมาะสำหรับใช้ในการจัดทำเส้นเสียง  ที่จะนำไปบันทึกลงในฟิล์มภาพยนตร์เพื่อดูความสัมพันธ์มากกว่าจะนำไปบันทึกลงฟิล์มภาพยนตร์ที่จะใช้ฉาย

                2.2  เส้นเสียงแบบออปติคคัล (optical soundtrack)  เป็นเส้นเสียงที่ใช้การบันทึกเสียงแบบที่ให้คลื่นเสียงไปควบคุมการปล่อยแสงที่จะไปบันทึกลงในฟิล์มถ่ายภาพยนตร์  โดยถ้าไปควบคุมพื้นที่ของการเกิดภาพ  เรียกว่าแบบวาริเอเบิล  เอเรีย (variable area)  หรือถ้าไปควบคุมความดำของภาพ  เรียกว่าแบบวาริเอเบิล  เด็นซิตี้ (variable density)  ข้อดีของเส้นเสียงแบบนี้คือ  คงทนเช่นเดียวกับภาพไม่อาจลบทิ้งได้  แต่ต้องผ่านขบวนการสร้างภาพเช่นเดียวกับภาพ  ทำให้ไม่อาจฟังผลการบันทึกได้ทันที  เส้นเสียงแบบนี้จึงเหมาะสำหรับที่จะใส่ลงในฟิล์มภาพยนตร์ที่จะนำไปฉาย  มากกว่าที่จะใช้ในการจัดทำเส้นเสียงสำหรับภาพยนตร์

3.  แบ่งตามระบบของการบันทึกเสียง
                โดยทั่วไประบบของการบันทึกเสียงแบ่งได้เป็นระบบใหญ่ ๆ คือ

                3.1  ระบบโมโน (monophonic system)  เป็นระบบการบันทึกเสียงลงบนแทร็กเพียงแทร็กเดียว  เมื่อเพลย์แบ็คเสียงก็จะออกมาทางเดียว  ดังนั้นจึงสามารถใช้ได้กับลำโพงเพียงตัวเดียว  ซึ่งนิยมวางไว้ทางด้านหลังของจอฉายในโรงภาพยนตร์  เพื่อให้ความรู้สึกว่าเสียงที่ได้ยินนั้นออกมาจากจอภาพยนตร์  เป็นระบบที่นิยมใช้กันมาก  เพราะสะดวกทั้งในการผลิตและการฉาย  สามารถทำเป็นเส้นเสียงได้ทั้งแบบแมกเนติกและออปติคคัล  ไม่สิ้นเปลืองมาก  อีกทั้งยังให้ความรู้สึกที่ใกล้เคียงความเป็นจริงพอควร

                3.2  ระบบสเตอริโอ (stereophonic system) เป็นระบบการบันทึกเสียงลงบนแทร็กคู่  เมื่อเพลย์แบ็คก็จะทำพร้อม ๆ กันทั้งคู่  ทำให้เสียงแยกทิศทางออกมาได้เหมือนจริง  เช่น  เสียงจานแตกจากภาพทางด้านซ้ายและเสียงฝีเท้าคนเดินเข้ามาในครัวทางด้านขวา  เป็นต้น  ซึ่งถ้าเพิ่มให้เป็นหลาย ๆ แทร็ก (multi-track steareophonic)  ก็อาจเพิ่มทิศทางการปล่อยเสียงออกมาเป็นรอบทิศ (surround system)  ซึ่งจะให้ความรู้สึกที่เหมือนจริงทีเดียว  แต่ค่าใช้จ่ายก็สูงตามความเหมือนจริงนั้นด้วย  เพราะความซับซ้อนของการผลิตและต้องติดลำโพงหลายตัว  นอกจากนี้เครื่องฉายก็มีราคาแพงขึ้นด้วย  ถ้าต้องการตัดเสียงรบกวนอาจเพิ่มระบบดอลบี้ (dolby system)  เข้าไปด้วย  แต่ต้องทำทั้งในระบบบันทึกและระบบเพลย์แบ็คให้สอดคล้องกันจึงจะสัมฤทธิ์ผล
การถ่ายภาพยนตร์เสียงระบบเดี่ยว
                การถ่ายภาพยนตร์เสียงที่เรียกว่า  ซาวด์  ออน  ฟิล์ม  ที่ภาพและเสียงถูกบันทึกบนแผ่นฟิล์มชิ้นเดียวกันหรือระบบเดี่ยว  (the  single  system)  นี้เป็นระบบแรกที่บริษัทฟอกซ์แนะนำใช้ตั้งแต่   พ.ศ.2471  และได้มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ   สำหรับใช้ในภาพยนตร์สารคดี  ภาพยนตร์ข่าวและการศึกษา
                กล้องถ่ายภาพยนตร์เสียงระบบเดี่ยวจึงไม่ได้รับความสนใจอย่างจริงจังสำหรับผู้สร้างภาพยนตร์บันเทิง  เนื่องจากได้คุณภาพของเสียงยังไม่ดีพอและเหตุผลอีกประการหนึ่งเนื่องจากการบันทึกเสียงในระบบนี้ไม่สะดวกในการตัดต่อทั้งภาพและเสียง

เส้นเสียงแมกเนติกที่ใช้กับกล้องถ่ายภาพยนตร์ระบบเดี่ยว
                เส้นเสียงแมกเนติกที่ถูกออกแบบขึ้นใช้สำหรับการถ่ายภาพยนตร์เสียงระบบเดี่ยว  คือ  การฉาบแถบสนิมเหล็ก (metallic  oxide)  ไว้บนแผ่นฟิล์มวัสดุนี้เป็นชนิดเดียวกันที่ใช้ในเทปบันทึกเสียงทั่วไป  โดยการฉาบไว้เฉพาะด้านข้าง ๆ  ของฟิล์มบริเวณที่จัดเตรียมขึ้นสำหรับเป็นเส้นเสียงโดยตรง

                       เส้นเสียง
               


เสียงจะถูกบันทึกบนแถบสนิมเหล็กนี้  เมื่อวิ่งผ่านหัวบันทึกเสียงไปในลักษณะเดียวกับการบันทึกเสียงทั่วไป
                เมื่อพิจารณาเส้นแมกเนติกซึ่งฉาบอยู่บนฟิล์มนั้นจะปรากฏว่ามีอยู่  2  เส้นเสมอ  เส้นแถบเสียงขนาดเล็กที่ฉาบทิ้งไว้อีกด้านหนึ่งของฟิล์มนั้นมีไว้เพียงเพื่อให้ความหนาของฟิล์มสมดุลกัน  โดยเฉพาะเมื่อกรอฟิล์มรวมเป็นม้วนใหญ่  จะไม่หนาหรือเอียงไปข้างหนึ่งข้างใดจนเกิดความเสียหายได้
                แถบสนิมเหล็กเหล่านี้เมื่อถูกนำไปล้างพร้อม ๆ กับฟิล์มภาพยนตร์จะไม่ได้รับความเสียหาย  อีกทั้งเส้นแมกเนติกมักจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับฝุ่นและการหดขยายของฟิล์ม  แต่คุณภาพจะด้อยลงหากเกิดการขีดข่วนขึ้นมากๆ  เส้นแถบเสียงแมกเนติกดูจะมีข้อได้เปรียบมากกว่าเส้นเสียงแบบออปติคอลอยู่สองประการดังนี้  คือ
                1.   ความหนาของแถบสนิมเหล็กทั้ง  2  ข้างนี้จะช่วยป้องกันการขีดข่วนของฟิล์มได้  ช่วยลดการบิดงอของตัวฟิล์ม  จะทำหน้าที่คล้ายรางที่สามารถป้องกันแรงกอจากประตูฟิล์มในระหว่างการฉายได้อีกด้วย
                2.  สำหรับเส้นเสียงออปติคอลนั้น  เมื่อถูกพิมพ์บนฟิล์มแล้วจะถือว่าเสร็จสมบูรณ์  เพราะไม่สามารถแก้ไขใด ๆ ได้อีก 
                แถบเส้นเสียงแมกเนติกเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงและทำการบันทึกใหม่ได้ในการผลิตภาพยนตร์การศึกษา  บ่อยครั้งที่จะมีการเปลี่ยนภาษาหรือข้อความในภาพยนตร์บางตอนให้เหมาะสมกับผู้ดูการใช้ระบบเสียงแมกเนติกนี้จะสะดวกและประหยัดต่อการปฏิบัติงาน  นอกจากนั้นยังเหมาะกับการพิมพ์ฟิล์มเก่าและภาพยนตร์เงียบที่ต้องการใส่เสียงเข้าไป  ซึ่งผู้สร้างสามารถที่จะจัดทำเส้นเสียงขึ้นใหม่

                ผู้ออกแบบจึงรวมกล้องถ่ายภาพยนตร์และเครื่องเทปบันทึกเสียง  ไมโครโฟนและส่วนประกอบอื่น ๆ เข้าไว้ในอุปกรณ์ชิ้นเดียวกัน  การบรรจุฟิล์มในกล้องภาพยนตร์ระบบเดี่ยวอาจจะต้องผ่านบริเวณหัวบันทึกเสียง  ซึ่งตามปกติหัวบันทึกเสียงของกล้องถ่ายภาพยนตร์เดี่ยวจะติดตั้งล้ำหน้าประตูฟิล์มหรือบริเวณภาพถึง  28  ภาพ  สำหรับกล้องขนาด  16  มม.  และ  20  ภาพสำหรับกล้องขนาด  35  มม.  เหตุผลที่ทั้งภาพและเสียงไม่สามารถติดตั้งไว้ในที่เดียวกันได้เนื่องจากว่า  ฟิล์มจะเคลื่อนที่ในแบบกระตุกและหยุด  ส่วนเสียงจะต้องผ่านหัวเสียงอย่างสม่ำเสมอ  การกระตุกของฟิล์มจะทำให้เสียงสะดุดไม่ราบเรียบ  ฉะนั้นในกล้องถ่ายภาพยนตร์เสียงระบบเดี่ยวจึงต้องมีลูกล้อยางที่เป็นตัวบังคับให้ฟิล์มเดินผ่านหัวเสียงอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันไป  เช่นเดียวกับการทำงานของเครื่องบันทึกเสียง
                ในช่วงต้นของการพัฒนา  กล้องถ่ายภาพยนตร์ระบบเดี่ยวจะใช้การบันทึกเสียงในระบบออปติคอล  ซึ่งเป็นการบันทึกเสียงด้วยระบบของลำแสงลงบนของฟิล์ม  แต่เนื่องจากคุณภาพของระบบเสียงแมกเนติกที่เหนือกว่า  จึงทำให้การบันทึกเสียงระบบออปติคอลกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไป  แม้ในปัจจุบันจะยังคงมีกล้องถ่ายภาพยนตร์ระบบนี้อยู่  แต่ก็มีไว้เพื่อการบันทึกภาพเพียงอย่างเดียว  ส่วนกล้องระบบแมกเนติกยังคงมีใช้อยู่ในปัจจุบัน  แต่ลดจำนวนของการใช้งานลง  เนื่องจากกล้องถ่ายภาพทัศน์หรือวิดีโอเทปแบบกระเป๋าหิ้วจะเข้ามาแทนที่และการบันทึกข่าวทางโทรทัศน์  ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าใช้งานได้รวดเร็วประหยัดและยังมีขนาดเล็กกว่า  กล้องถ่ายภาพยนตร์เสียงระบบเดี่ยวยังคงเป็นที่ต้องการสำหรับนักถ่ายมืออาชีพกับงานภาพยนตร์ข่าวที่สำคัญๆ  ภาพยนตร์สารคดีและภาพยนตร์ทางการศึกษาที่ประสงค์จะนำไปใช้ฉาย  นอกจากนั้นยังใช้ในงานบันทึกภาพอื่น ๆ  เช่น  การแสดงโขน  บัลเลย์  การแสดงบนเวทีต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้น  ในอดีตที่ผ่านมาเมื่อระบบการสื่อสารด้านดาวเทียมยังไม่พัฒนาเท่าทุกวันนี้  จะใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์ระบบเดี่ยวนี้บันทึกภาพและเสียงและสามารถนำมาฉายได้เพียง  1-2  วัน  หลังจากวันที่ถ่ายทำ
                เสียงที่ได้บันทึกไว้สามารถถ่ายเฉพาะเสียงลงบนเส้นแมกเนติกฟิล์มอีกเส้นหนึ่งซึ่งใช้สำหรับการตัดต่อ  ส่วนภาพก็สามารถนำไปทำพิมพ์  เพื่ออัดสำเนาขึ้นใช้สำหรับตัดต่อเช่นเดียวกับการถ่ายภาพยนตร์ในระบบคู่  ภายหลังจากที่ได้ตัดต่อภาพเรียบร้อยแล้ว  เส้นเสียงสามารถถ่ายคืนไปตามตำแหน่งเดิมได้

                การบันทึกเสียง  ในกล้องเสียงระบบเดี่ยวนี้ปกติจะมีมาตรวัดระดับเสียงและหูฟัง  เพื่อปรับความดังค่อยของเสียงได้เช่นเดียวกับเครื่องบันทึกเสียง  แต่การบันทึกเสียงในระบบเดี่ยวนี้จะต้องการความชำนาญและความปราณีตเป็นพิเศษ  หากบันทึกเสียงดันเกินควรจะทำให้เสียงผิดเพี้ยน  แต่ถ้าอัดไว้ต่ำสัญญาณเสียงจะอ่อนจะฟังไม่ได้ยิน  แม้จะนำไปปรับขยายจะไม่อาจช่วยได้  ฉะนั้นจึงควรบันทึกไว้พอดี  ให้สัญญาณเสียงที่ต้องการมีระดับสูงแตกต่างจากระดับของเสียงรบกวนได้

การถ่ายทำภาพยนตร์เสียงระบบคู่
               
                คือ  ระบบของการถ่ายทำภาพยนตร์เสียงที่ภาพและเสียงจะทำงานแยกออกจากกัน  กล้องจะทำหน้าที่บันทึกภาพแต่เพียงอย่างเดียว  ในขณะที่เสียงจะบันทึกด้วยอุปกรณ์เครื่องเทปที่แยกทำงานอย่างอิสระ
                ปัญหาใหญ่ของการสร้างภาพยนตร์เสียงในระยะต้น ๆ ก็คือ  ความพยายามที่จะให้ภาพและเสียงทำงานไปพร้อมกัน  เมื่อเราได้ยินคำพูดออกจากปากกล่าวว่า แม่”  เราจะต้องเห็นริมฝีปากที่เม้มแล้วเปิดออกกว้างแล้วคงค้างไว้พร้อมกับการได้ยินเสียง แม่”  เสียงเช่นนี้เราเรียกว่า  เสียงตรงหรือลิปซิงค์ (lip sync)  ซึ่งให้ภาพริมฝีปากที่เคลื่อนไหวสัมพันธ์กันกับเสียงที่เปล่งออกมา
                ภาพกับเสียงนั้นเมื่อตรงกันจะมองเป็นธรรมชาติ  ถ้าหากเสียงผิดพลาดระหว่าง 1-2  ภาพ  คนดูจะยังไม่สังเกตเห็นได้  แต่ถ้าหลุดซิงก์มากกว่านี้หรือผิดไปเกินกว่า  3  ภาพ  คนดูจะเริ่มสังเกตเป็นแม้จะไม่รู้ว่าเพราะเหตุใด  แต่จะเกิดความรู้สึกที่ผิดปกติไป
                ฉะนั้นในภาพยนตร์ที่ตัดต่อไม่ดี  หรือพากย์ไม่เรียบร้อยทำให้เสียงไม่ตรงปากจะทำให้คนดูรู้สึกรำคาญหรือหมดอารมณ์ที่จะติดตามชมได้
                การถ่ายภาพเพื่อให้เสียงตรงกับปากไม่ใช่งานที่ยากเย็นนัก  หากแต่ผู้สร้างจำเป็นจะต้องศึกษาถึงหลักพื้นฐานและกระบวนการผลิตภาพยนตร์เสียงเสียก่อน  โดยเฉพาะเรื่องของกล้องถ่ายภาพยนตร์และการบันทึกเสียง
               
                การถ่ายภาพยนตร์เสียงมีกรรมวิธีใหญ่ๆ อยู่  2  ลักษณะคือ
                1.  วิธีการใช้สัญญาณซิงก์ด้วยการใช้สายต่อ  เพื่อนำเอาสัญญาณซิงก์หรือสัญญาณไฟฟ้าจากมอเตอร์กล้องเข้ามาบันทึกไว้บนเทป
                2.  วิธีการควบคุมด้วยสัญญาณคริสทอลซิงก์ (crystal  sync)  วิธีการนี้ไม่ต้องใช้สายต่อระหว่างกล้องและเครื่องบันทึกเสียง

1.  สัญญาณซิงก์ (sync pulse)
                สัญญาณซิงก์เป็นกระบวนการการบันทึกเสียงบนเทปขนาด  นิ้ว  การถ่ายทำภาพยนตร์เสียงระบบคู่ด้วยเทปขนาด  นิ้วเป็นวิธีการที่สะดวกในทางปฏิบัติ  มีอุปกรณ์ขนาดเล็ก  มีประสิทธิภาพในการบันทึกเสียงสูงและหระหยัดกว่าระบบอื่น ๆ
                กระบวนการบันทึกเสียงด้วยเทปเกือบทุกกรณีใช้วิธีการบันทึกสัญญาณซิงก์หรือบันทึกสัญญาณไฟฟ้าที่แสดงผลการทำงานของมอเตอร์กล้องลงในเส้นเทป  ควบคู่ไปกับการบันทึกเสียงตามปกติ  การบันทึกสัญญาณซิงก์นี้ใช้การบันทึกในลักษณะเดียวกันกับการบันทึกเสียงทั่วๆ ไป  แต่เครื่องบันทึกเสียงนั้นจะต้องถูกประดิษฐ์เพื่อการนั้นโดยตรง  เครื่องเทปบันทึกเสียงที่ใช้กันตามบ้านจะไม่สามารถบันทึกสัญญาณซิงก์ได้  กล้องถ่ายภาพยนตร์ก็จะต้องใช้มอเตอร์ชนิดซิงโครนัสหรือมอเตอร์ที่ทำงานเที่ยงตรงสม่ำเสมอ  มักจะประกอบด้วยเครื่องกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อส่งผลการทำงานของมันออกมา  และสัญญาณนี้จะถูกป้อนเข้าเครื่องเทปเพื่อการบันทึกเสียง  มอเตอร์ซิงโครนัสนี้ใช้ได้ทั้งไฟฟ้ากระแสสลับและกระแสตรง  และกระแสไฟฟ้าเหล่านี้ก็จะต้องมีความสม่ำเสมอเช่นกัน

                ในการขับเคลื่อนและมอเตอร์ของกล้องซึ่งจะต้องเป็นชนิดซิงโครนัสที่ทำงานด้วยความเร็วสม่ำเสมอ  และมีส่วนประกอบพิเศษที่สามารถผลิตสัญญาณซิงก์  บางครั้งเรียกว่า  การปั่นสัญญาณไพลอต (pilotone  generator)  เป็นกระแสสัญญาณไฟระดับต่ำประมาณ  1.2  โวลต์  และ  2  เฮิร์ตซ์  ต่อการขับเคลื่อนของฟิล์มในกล้อง  1  ภาพ  หรือสามารถกล่าวได้ว่าเมื่อมอเตอร์ตัวเดียวกันนี้เคลื่อนฟิล์มถ่ายในกล้องไป  1  ภาพ  ก็จะผลิตสัญญาณซิงก์ออกมา  2  เฮิร์ตซ์  หรือ  2  สัญญาณซิงก์ต่อ  1  ภาพ  สำหรับการถ่ายภาพยนตร์  25  ภาพต่อ  1  วินาที – 2  Hz  =  50  เฮิร์ตซ์  ซึ่งจะเท่ากับ  60  Hz  เช่นกัน
                ระบบนี้เหมาะสำหรับการถ่ายทำนอกสถานที่  กล้องประเภทนี้ได้แก่  กล้องอาร์รีเฟลกซ์(Arriflex)  อีแคลร์(Eclair) โบเลกซ์ (Bolex)  โบลู (Beaulieu)  และมิตช์เชลล์ (Mitchell)  เป็นต้น
               
                ในกระบวนการบันทึกเสียงที่ใช้เทป  มีระบบที่นิยมใช้กันอยู่  3  ระบบ  คือ
                1.  ระบบนีโอไพลอต (neo-pilot system) 
                2.  ระบบไพลอต (pilot system)
                3.  ระบบคริสทอล (crystal system)

1.            ระบบนีโอไพลอต (neo-pilot system) 
               
                ผู้เป็นต้นคิดคือ  สเตฟฟาน  คุเดลกี (Steplan  Kudelski)  เป็นระบบที่เคยได้รับความนิยมสูงสุดระบบหนึ่ง  ขอให้ศึกษาจากภาพที่นำมาแสดงประกอบ  การทำงานของเส้นเทปจะเดินจากขวามาซ้าย  เนื้อเทปหรือด้านที่ฉาบสนิมเหล็กจะหันเข้าหาผู้ดู  เส้นเทปจะเคลื่อนตัวแนบผ่านหัวบันทึกเสียงเป็นเส้นตรง  ซึ่งหัวอัดก็จะทำงานด้วยการบันทึกความถี่สูงต่ำไว้อย่างละเอียดตามความยาวของแถบเสียง  จากนั้นหัวนีโอไพลอตซึ่งเป็นหัวขนาดเล็กประกบซ้อนกันสองหัว  โดยแต่ละหัวจะวางขั้วไว้สลับกัน  เมื่อกระแสไฟฟ้าความถี่สูงส่งผ่านหัวขั้วเหล่านี้  ประการแรกมันจะลบเอาสัญญาณเก่าที่ได้ถูกบันทึกในเนื้อเทปออกไปเฉพาะบริเวณช่องหัว  จากนั้นหัวนีโอไพลอตก็จะบันทึกสัญญาณด้วยหัวขั้วสลับกัน (push-pull)  ซึ่งเป็นสัญญาณไฟ  50  เฮิร์ตซ์  สำหรับการถ่าย  25  ภาพต่อวินาที  ดังนั้นในขณะถ่ายทำหัวเทปก็จะบันทึกเสียงและหัวนีโอไพลอตก็จะบันทึกสัญญาณซิงก์ไปพร้อมกัน  สัญญาณซิงก์นี้หากเล่นเทปกลับตามปกติจะไม่สามารถรับสัญญาณซิงก์ได้  ในขณะเดียวกันจะไม่รบกวนเสียงอื่นที่บันทึกไว้เช่นกัน  นอกจากจะเล่นกลับ  โดยเปิดรับจากหัดนีโอไพลอตของมันเอง  แล้วใช้ภาคขยายจึงจะรับสัญญาณซิงก์ได้ชัดเจน
               
                2.  ระบบไพลอต (pilot system) 

                ระบบการบันทึกเสียงแบบนี้  ประดิษฐ์ขึ้นโดย  ซัลเลอร์และซูเรอร์ (Schuller and Schurer) ชาวเยอรมัน  ในระหว่างปี พ.ศ. 2483  โดยการบันทึกเสียงมีลักษณะคล้ายนีโอไพลอต  คือเทปจะผ่านหัวเสียงก่อนจึงจะมาถึงหัวสัญญาณซิงก์  ในระบบของไพลอต  หัวสัญญาณซิงก์จะถูกบันทึกในแบบมุมขวางกับเส้นเทป  หรือตั้งไว้ในแนวดิ่ง  ในขณะที่หัวการบันทึกเสียงจะวางไว้ตามแนวนอนกับแถบเส้นเทป  การวางหัวขวามในลักษณะนี้  สัญญาณซิงก์จะเป็นขั้วสลับกัน  เมื่อนำเทปนี้ไปเล่นกลับกับเครื่องเทปชนิดอื่นจะอ่านไม่พบสัญญาณซิงก์  จะฟังได้แต่เฉพาะเสียงบันทึกทั่ว ๆ ไป เท่านั้น  แต่สัญญาณซิงก์สามารถตรวจพบและเส่นกลับได้ด้วยเครื่องของมันเอง  ระบบไพลอตแม้จะไม่เป็นที่นิยมเท่ากับระบบนีโอไพลอตก็ตาม  แต่ก็นิยมใช้กันทางประเทศยุโรปและเป็นระบบที่มีคุณภาพการบันทึกเสียงสูงระบบหนึ่ง



3.  ระบบคริสทอล (crystal system) 

                เรื่องของระบบสัญญาณเสียงคริสทอลนั้นจะมีความซับซ้อนน้อยกว่าระบบของการใช้สายต่อ  หรือระบบของการจับจังหวะสัญญาณไฟฟ้า
                ระบบสัญญาณเสียงคริสทอลซิงก์  พัฒนาขึ้นเมื่อเทคโนโลยีของโซลิดสเตต (solid – state tecnology)  ได้ปรับปรุงเทคนิคของการควบคุมความถี่เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ  โดยการทำให้เครื่องกำเนินไฟฟ้ากระแสสลับมีความเที่ยงตรงมากขึ้น  ไฟฟ้ากระแสสลับจึงมีสัญญาณที่สม่ำเสมอ  เมื่อนำมาใช้กับมอเตอร์ของกล้องถ่ายภาพยนตร์  ตัวนับเวลาคริสทอลจะควบคุมการทำงานของมอเตอร์ให้มีความเร็วสม่ำเสมอตลอดเวลา  โดยจัดให้ความเร็วของกล้องทุกๆ ชนิดมีความเร็วเท่ากันด้วยตัวควบคุมเวลาคริสทอลตามหลักการนี้ผู้สร้างภาพยนตร์สามารถใช้กล้องตั้งแต่หนึ่งตัว  สองตัว  จนถึงเป็นสิบ ๆ ตัวก็ตาม  กล้องทั้งหมดก็จะทำงานพร้อมเพรียงกัน  ทุกกล้องจะซิงก์เนื่องจากมอเตอร์กล้องมีตัวควบคุมอิเลคทรอนิกส์ที่ให้การถ่ายภาพมีความเร็วตรงกัน  คือ  25  ภาพต่อวินาที (หรือ  24  ภาพต่อวินาทีตามต้องการ)  ในขณะเดียวกันเครื่องบันทึกเสียงก็จะควบคุมด้วยระบบสัญญาณคริสทอล  แต่แตกต่างกันที่กล้องถ่ายภาพยนตร์ควบคุมการวิ่งด้วยการใช้มอเตอร์ที่หมุนเฟืองบันทึกเสียงและรูหนามเตยของฟิล์มได้อย่างเที่ยงตรง   ส่วนเครื่องเทปบันทึกเสียงทำงานกับเทปที่ยืดหดได้    เพราะไม่มีรูหนามเตยควบคุม  อีกทั้งอุปกรณ์เครื่องกลไกต่าง ๆ ภายในเครื่องเทป  เช่น  ลูกล้อยาง  แกนหมุน  สายพาน  ตลอดจนการลื่นไหลทำให้การทำงานไม่เที่ยงตรงพอที่จะเชื่อถือได้  แต่การใช้เรื่องเทปที่ควบคุมด้วยสัญญาณคริสทอลซิงก์นี้  จะบันทึกสัญญาณความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ  50  เฮิร์ตซ์  ลงไว้ภายในเทป (สัญญาณความถี่  50  เฮิร์ตซ์นี้จะเสมือนกับการใส่รูหนามเตยที่มองไม่เห็นลงไว้ภายในเทป)  ตัวรูหนามเตยที่มองไม่เห็นหรือสัญญาณความถี่  50  เฮิร์ตซ์นี้จะเป็นตัวกำหนดความเร็ว  เมื่อนำสัญญาณนี้มาเล่นกลับเช่นเดียวกับระบบสัญญาณไฟอื่น ๆ ก็จะได้ภาพและเสียงที่ซิงก์กันพอดี  จะแตกต่างกันที่ระบบสัญญาณคริสทอลนี้จะบันทึกสัญญาณความถี่  50  เฮิร์ตซ์ที่เที่ยงตรงไว้
                เมื่อกล้องถ่ายภาพยนตร์ต่างก็มีอิสระออกจากเครื่องเทปบันทึกเสียงแล้ว  การสเลตหรือการเริ่มต้นหัวเทปและภาพแบบสายต่อจะต้องเปลี่ยนไป  เพราะไม่มีสายต่อสัญญาณซิงก์ซิ่งกันและกัน  การใช้สเลตหัวฟิล์มจึงนิยมกลับมาใช้แผ่นกระดานตีสเลตแบบเก่าที่ให้ผลแน่นอน  ในปัจจุบันพัฒนาการของระบบสัญญาณคริสทอลซิงก์ได้ออกแบบการตีหัวสเลตแบบอัตโนมัติด้วยระบบวิทยุ  คือ  เครื่องส่งวิทยุขนาดจิ๋วจะติดตั้งอยู่ภายในกล้องภาพยนตร์และมีเครื่องรับขนาดย่อส่วนภายในเครื่องเทปด้วยทุก ๆ ครั้งที่กล้องเริ่มทำงานหลอดไฟขนาดจิ๋วจะแวบเป็นประกายขึ้น  ทำให้ฟิล์มขาวผิดไป 3-5  ภาพ  พอเป็นที่สังเกตเห็น  ในขณะเดียวกันก็ส่งคลื่นวิทยุไฟแวบนี้มาที่เครื่องเทป  ซึ่งจะเกิดเสียงดัง ปี๊ปขึ้นบนเสส้นเทปในลักษณะเดียวกันกับระบบสายเคเบิลซิงก์  ในกรณีที่ต้องการใช้กล้องหลาย ๆ ตัวก็ไม่มีปัญหา  เพราะความถี่ของกล้องแต่ละตัวสามารถตั้งให้แตกต่างกันและแยกออกได้ว่ากล้องไหนเริ่มถ่ายเมื่อใด

การถ่ายทำภาพยนตร์เสียงด้วยระบบการยึดด้วยรูหนามเตยของฟิล์ม
               
                ระบบการยึดด้วยรูหนามเตยของฟิล์ม  คือ  ระบบการถ่ายภาพยนตร์ที่ให้ภาพและเสียงทำงานพร้อมกันด้วยการยึดด้วยรูหนามเตยของฟิล์ม  เทปบันทึกเสียงหรือแมกเนติกฟิล์มจะถูกเจาะรูหนามเตยคล้ายฟิล์ม  กล้องถ่ายภาพยนตร์และเทปบันทึกเสียงจะทำงานด้วยมอเตอร์แบบซิงโครนัสทั้งระบบ  ซึ่งสามารถขับเคลื่อนภาพและเสียงไปพร้อมกันอย่างเที่ยงตรง  เพราะเป็นระบบที่ตรึงภาพและเสียงตรงกันด้วยรูหนามเตย  ต่อมาจึงถูกการถ่ายภาพยนตร์เสียงระบบคู่หรือการใช้เทปขนาด  นิ้วเข้าแทนที่  เพราะปัญหายุ่งยากของขนาดความใหญ่โตของเครื่องเทปที่มีน้ำหนักมากและความสิ้นเปลืองของการใช้แมกเนติกฟิล์ม  โดยเฉพาะการถ่ายภาพยนตร์เสียงนอกสถานที่ต้องเคลื่อนย้ายเครื่องเทปขนาดใหญ่  200-300  กิโลกรัม  ในขณะที่เทปบันทึกเสียงแบบ  นิ้ว  รุ่นใหม่จะหนักไม่เกิน  10  ก.ก.  และเทปรีลขนาด  5  นิ้ว  และความยาว  600  ฟุต  สามารถบันทึกได้นานถึง  20  นาทีซึ่งสะดวกต่อการปฏิบัติงานและประหยัดอีกด้วย
                แต่ข้อได้เปรียบสำหรับระบบการยึดด้วยรูหนามเตยของฟิล์มก็คือ  เส้นแมกเนติกเสียงต้นฉบับสามารถนำไปใช้ฉายคู่กับฟิล์มและตัดต่อได้เลย
                ต่อมามีการพัฒนาระบบการเดินยึดรูหนามเตยของเซลซินให้มีคุณภาพดีขึ้นและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในงานถ่ายเส้นเสียง (sound transfer)และการรวมเส้นเสียง(sound mixing)  ในแล็บภาพยนตร์  ระบบการยึดรูหนามเตยของเซลซินนี้สามารถยึดเครื่องฉายกับเครื่องเทปแมกเนติกฟิล์มหลายๆ เครื่องเข้าด้วยกันและสามารถทำงานแบบเดินหน้าถอยหลังด้วยการยึดแบบภาพต่อภาพ  เครื่องสามารถถอยหลังกลับพร้อมๆ กันหรือเดินๆ หยุดๆ ตามคำสั่งได้

ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่นำสมัย  ทำให้เกิดระบบของเสียงในภาพยนตร์อีกหลายระบบ  โดยมีวิวัฒนาการเริ่มต้นจาก
ระบบ Mono-Sound  :  เป็นระบบเสียงในยุคแรกของภาพยนตร์  ระบบเสียงทิศทางเดียว
ระบบ Stereo-Sound  :  เป็นระบบเสียงที่มีมิติของเสียง 2 ทาง (ซ้าย-ขวา)
ระบบ Stereo-Surround  : เป็นระบบเสียงที่มีมิติของเสียงมากกว่า 2 ทาง (ซ้าย-ขวา-กลาง-หลัง)  ทำให้ได้ยินเสียงรอบทิศทาง
ระบบ Digital  : เป็นระบบเสียงที่มีมิติของเสียงสมจริงมากขึ้น  เกิดจากการบันทึกเสียงแบบหลายช่องทางลงบนแผ่นฟิล์มโดยตรง  หรือบันทึกลงบนแผ่น CD-ROM โดยใช้สัญญาณ Syncronize จากภาพยนตร์เป็นสั่งการทำงาน สามารถให้เสียงได้หลายทิศทาง (ซ้าย-ขวา-หน้า-กลาง-หลัง-เสียงสูง-เสียงต่ำ)  ทำให้ได้ยินเสียงรอบทิศทางที่สมจริงมาก

คำจำกัดความของสื่อภาพเคลื่อนไหว  (Understanding Motion  Media  Convention)

                เครื่องมือและเทคนิคที่ถูกนำมาใช้ใน  Motion  Media  เป็นการจัดการกับช่องว่างของเวลาในสถานการณ์ต่าง ๆ  เช่น  เราเข้าใจว่านักกีฬาที่หยุดตัวอยู่ในภาพนั้นไม่ได้ค้างอยู่จริง ๆ  หรือภาพย้อนกลับ  (Reverse)  นั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในเหตุการณ์จริง  อย่างไรก็ตามในการลำดับภาพโดยใช้เทคนิค  Flashbacks,  Dissolve  หรือ  Jump  cots    อาจทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสน  ไม่เข้าใจความหมายที่ครูต้องการสื่อไปยังผู้เรียนได้  จึงจำเป็นต้องศึกษาและนำวิธีการที่คิดว่าดีที่สุดมาใช้เพื่อสื่อความหมายได้ตรงกัน  สื่อภาพเคลื่อนไหวไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงเพียงอย่างเดียว  บางครั้งการสื่อความหมายแบบเป็นนัยให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ฝึกคิด  ก็จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามประสบการณ์เดิมของผู้เรียนรู้ได้ตามประสบการณ์เดิมของผู้เรียนแต่ละคนช่วยสร้างมุมมอง  ทัศนะที่น่าสนใจขึ้นอีกหลาย ๆ  แง่มุม  ดังเช่นภาพว่าของปีกัสโซ  ซึ่งเป็นภาพว่าในแบบนามธรรม  หลายคนที่ดูภาพปิกัสโซแล้วไม่สามารถตีความหมายออกมาได้  (มองในสิ่งที่เห็น)  หากแต่ถ้าเพียงเราใช้ความคิดและจินตนาการในการมองก็จะเกิดความหมายขึ้นได้จากประสบการณ์เดิมและความสนใจของแต่ละบุคคล  ดังนั้นบุคคลเหล่านี้ก็อาจดีความหมายได้ไม่เหมือนกัน  หากเขาเหล่านั้นมิได้มีพื้นฐานประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกันมาก่อน
               
คุณสมบัติสำคัญของสื่อภาพเคลื่อนไหว  (Special  Attributes  of  Motion  Media) 

                เนื่องจากคนทั่วไปมักติดวีดีโอ  หรือภาพยนตร์เป็นสื่อที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างภาพเหมือนจริงของสิ่งต่างๆ  ในโลก  แต่ดูเหมือนจะลืมไปว่าคุณสมบัติพื้นฐานของสื่อภาพเคลื่อนไหวนี้  คือความสามารถที่จะจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ  ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง  ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นวิธีการในการรองรับความคิดเท่านั้น  แต่ยังมีความหมายในการสอนอีกด้วย
               


-ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลา  (Alteration  of  Time)
                Motion  Media  ช่วยเพิ่ม  หรือลดระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการสังเกตเหตุการณ์จริงต่างๆ  เช่น  มันคงจะต้องใช้เวลามาก  ในการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการสร้างทางด่วนที่กำลังสร้างอยู่  แต่เราสามารถจัดทำ Motion  Media  มาใช้ในการอธิบายวีธีการสร้างทางด่วนนั้นได้อย่างเป็นเรื่องราว  โดยจะช่วยให้ผู้เขียนใช้เวลาในการศึกษาเพียงไม่กี่นาที
                และเรายังสามารถใช้ Motion  Media  มาช่วยในการลดทอนเวลาได้  เช่น  คนอาจคุ้นเคยกับเหตุการณ์ต่าง ๆ  ที่ค่อย ๆ  เลือนหายไป  และค่อย ๆ  เลือนกลับมาใหม่ในอีกวันหนึ่ง  เวลาดังกล่าวจะถูกตัดออกไป  แต่เราก็สามารถรับรู้ว่าได้ผ่านเวลากลางคืนไปแล้ว    แม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสกับมันจริง ๆ 
                การบีบอัดเวลา  (Compression  of  Time) 
                Motion  Media  สามารถทำให้ย่นย่อระยะเวลาของเหตุการณ์ให้น้อยลง  เช่น  ภาพดอกไม้คลี่บานอย่างรวดเร็ว  (ใช้วิธี  As  Time  Lapse)  หรือกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสรีระจากดักแด้จนกลายเป็นผีเสื้อ  ซึ่งไม่สามารถศึกษาได้จากของจริง
                การยืดเวลา  (Expansion  of  Time) 
                Motion  Media  สามารถเพิ่มเวลาในการมองเห็นได้ด้วยเทคนิค  Slow  Motion  ซึ่งบางครั้งก็มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  และจบลงภายในเวลาอันรวดเร็ว  จนเราไม่สามารถเห็นรายละเอียดของเหตุการณ์นั้นได  เทคนิค Slow  Motion  คือวิธีการบันทึกภาพด้วยความเร็วสูง  แต่นำมาฉายซ้ำด้วยความเร็วปกติ  ซึ่งจะทำให้ทราบรายละเอียดของเหตุการณ์ได้อย่างชัดเจน  เช่น  กิ้งก่าจับแมลงกินจะมีความเร็วสูงมาก  จะไม่สามารถมองเห็นได้ทัน  และเราก็ถ่ายทำโดยใช้เทคนิค Slow  Motion  เมื่อนำมาฉาย  จะได้ภาพการจับแมลงของกิ้งก่าที่ช้าลง  ทำให้ทราบรายละเอียดของเหตุการณ์ทั้งหมด

-ความสามารถในการการจัดการช่องว่างของเหตุการณ์ (Manipulation of Space) 
                Motion  Media  ช่วยให้เราสามารถชมเหตุการณ์ที่เหนือธรรมชาติได้  (Motion  Magic)  เป็นรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง  ที่กล่าวถึงผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคพิเศษ  (Special  Effect)  ว่าทำอย่างไรจึงจะรวมเอาสัดส่วนของช่องว่างที่ไม่เคยมีมาก่อน  มาจัดไว้ในเหตุการณ์เดียวกัน  อย่างเช่น  ภาพยนต์เรื่อง  Die  Hard ,  Gremlins 2  และ  The  Abyss  เป็นภาพยนต์ตัวอย่างที่ดีในการจัดช่องว่างของความต่างกันของ Motion  Media

-การทำให้ภาพเกิดการเคลื่อนไหว   (Animation)

Animation  คือเทคนิคการนำช่วงว่างของเวลา  มาช่วยให้ภาพเคลื่อนไหวได้ 
                Animation  คือเทคนิคการทำสิ่งที่เคลื่อนไหวไม่ได้ให้เคลื่อนไหวได้  เป็นการให้ชีวิตและวิญญาณแก่ศิลปะที่สร้างขึ้น  โดยวิธีการที่ทำให้ดูเหมือนจริง  (To  give  life  and  soul  to  a  design  through  the  transformation  of  realitjy)
                พื้นฐานของ Animation  เป็นการสร้างชุดภาพที่แต่ละเฟรมมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุไปทีละน้อย  อย่างต่อเนื่อง  เมื่อนำมาฉายซ้ำก็จะได้ภาพที่เคลื่อนไหวได้  ปัจจุบันมีการทำภาพ Animation  จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว  และถูกนำมาใช้ร่วมกับวีดีโอเพื่อการศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ  นิยมใช้ในการแสดงภาพที่ซับซ้อน

เทคนิคการทำให้เคลื่อนไหว  หรือ  Animation  พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาหลายรูปแบบ  เช่นจากรูปปั้น  หรือตุ๊กตานำมาดัดแปลงเป็นหุ่นเชิด  เรียกว่า  Puppet  เอาแผ่นหนัง  หรือกระดาษมาตัดเป็นรูปต่าง ๆ  โลดเแล่นไปมาบนจอหน้าแสงไฟ  เรียกว่า  หุ่นเงา  หรือ  shadow  ทำให้ตัวการ์ตูนที่วาดบนกระดาษเคลื่อนไหวได้เหมือนมีชีวิต  เรียกว่า  ภาพยนตร์การ์ตูน  หรือ  cel  animation  จนถึงยุคคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันก็ยิ่งมีรูปแบบเทคนิคแพรวพราวชวนตื่นตาตื่นใจมากขึ้น  เช่น  computer  animation  และ  computer  graphic  ที่นิยมกันอยู่ในวงการธุรกิจโฆษณา  และโทรทัศน์ในปัจจุบัน


Animation  จำแนกออกเป็น  2  ประเภทใหญ่ ๆ  คือ
               
1. Animation  ที่ต้องใช้เครื่องมือช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหว  เช่น  ใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์  เคลื่องฉายสไลด์  เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ได้แก่  photographic  animation,  cel  animation,  (ภาพยนตร์การ์ตูน)  slide  animation,  computer  animation
                - Cel  animation 
                ก่อนที่มนุษย์จะมีโอกาสได้รู้จักสิ่งบันเทิงใจที่เรียกว่า  ภาพยนตร์  (motion  pictures)  อย่างที่นิยมดูกันอยู่ในปัจจุบันนั้น  ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่  17  บรรพบุรุษของเราได้พยายามคิดประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องเล่นที่จะช่วยให้ภาพวาดของสิ่งต่าง ๆ  สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนของจริง  และได้พัฒนาอุปกรณ์เหล่านี้มาเรื่อย ๆ  โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ  กัน  แต่ละรุ่นได้รับความนิยมจากประชาชนแล้วก็หายสาบสูญไปในประวัติศาสตร์เมื่อมีเครื่องรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเกิดขึ้นมาแทน  อุปกรณ์การทำภาพเคลื่อนไหว  หรือ  animatoscope  รุ่นที่นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศษชื่อ  Joseph  Nicephore  Niepce  ทำขึ้นในปี  1829  ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างสูง  ตัวเครื่องประกอบด้วยจานกลมใบหนึ่ง  รอบขอบของจานมีภาพวาดเป็นชุด ๆ  ละ  16  ภาพ  เช่น  ภาพชุดกังหันลม  แต่ละภาพของกังหันจะมีใบพันอยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างจากเดิมเล็กน้อย  จนไปบรรจบกับตำแหน่งเดิมของใบพัดที่อยู่ในภาพแรก  เมื่อหมุนจานภาพนี้ด้วยความเร็ว  พร้อมกับเปิดไฟให้สว่างที่ตรงกลาง  สายตาของคนดูซึ่งดูภาพเหล่านี้ผ่านรูเล็ก ๆ  รูหนึ่งจะเห็นภาพทั้งหมดรวมกันเป็นภาพเดียวในลักษณะที่เหมือนกังหันกำลังหมุน  อุปกรณ์เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว  animatoscope  นี้  ยังความตื่นเต้นยินดีในหมู่คนในยุคนั้นมากจนได้รับการขนานนามว่า  ตะเกียงวิเศษ”  หรือ  “magic  lantern”  ผู้คนนิยมดู  magic  lantern  กันมาก  จนมีคนวาดออกมาขายมากมายให้เลือกได้กว่าร้อยชุด  ส่วนใหญ่เป็นภาพชุดสุนัขกำลังวิ่ง  ม้าวิ่ง  ปลาว่ายน้ำ  กายกรรมหกหัว  เป็นต้น
                magic  lantern  ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการสร้างภาพยนตร์  animation  นี้ประดิษฐ์ขึ้นโดยยึดหลัก  4  ประการคือ
                1.บังคับให้สายตาของคนจับอยู่ที่ภาพ ๆ  หนึ่งเท่านั้น
                2.ตาของคนจะรวมภาพหลาย ๆ  ภาพเข้าเป็นภาพเดียว  เมื่อภาพเหล่านี้วิ่งผ่านสายตาไปด้วยความเร็ว
                3.เพื่อให้เกิดการรวมภาพ  ต้องมีอัตราความเร็วในการเคลื่อนภาพที่เหมาะสม
                4.ต้องมีแสงสว่างมากพอที่จะช่วยให้ภาพดูสมจริง

                เมื่อมีคนนิยมแพร่หลาย  ต่อมาจึงมีคนนำ  animatoscope  ไปใช้ประโยชน์ในเชิงการค้า  โดยเปิดฉายภาพชุดเหล่านี้ในโรง  มีดนตรีประกอบเพื่อเพิ่มบรรยากาศ  จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่  19  กล้องถ่ายภาพ  และฟิล์ม  เป็นนวกรรมใหม่ที่เพิ่มกำเนิดขึ้น  ศิลปะ  animation  ก็ขยายตัวออกไปกลายเป็นอุตสาหกรรมภาพยนตร์  ในเวลาอีกไม่นาน
                ความก้าวหน้าในวงการภาพยนตร์  animation  เกิดขึ้นอีกเรื่อยๆ  ในปี  1913  Raoul  Barre  ได้ตั้ง  Studio  ซึ่งสามารถผลิตการ์ตูนเคลื่อนไหวในปริมาณมากได้  นอกจาก  Raoul  Barre  แล้ว  ยังมีนักประดิษฐ์  และศิลปินในประเทศอื่น ๆ  ซึ่งต่างก็สร้างสรรค์ผลงานของตนอย่างเป็นอิสระ  และต่างก็ขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์เทคนิคใหม่ ๆ  ทางด้าน  animation  ของแต่ละคน  ลิขสิทธิ์ที่มีผลมากต่อความก้าวหน้าของวงการภาพยนตร์การ์ตูน  คือลิขสิทธิ์การใช้  cel  process  จดทะเบียนในปี  1914
                cel  process  คือ  การใช้แผ่นใสเซลลูลอยด์ที่มีภาพตัวละครวางทาบลงบนฉาก  (background)  ที่เป็นกระดาษธรรมดา  เป็นกระบวนการผลิตการ์ตูนที่ใช้กันจนทุกวันนี้
                Max  Fleisher  เป็นผู้บุกเบิกรุ่นแรก ๆ  อีกคนหนึ่งของการสร้างภาพยนตร์การ์ตูน     ในปี  ค.ศ.1917  เขาได้นำภาพยนตร์การ์ตูนความยาวไม่ถึง  1  นาที  ที่เขาลงแรงสร้างอยู่หนึ่งปีเต็มออกฉายต่อมาในช่วงระหว่าง  ทศวรรษที่  20  และ  30  ก็ผลิตงานติดตามออกมาเรื่อย ๆ  ในจำนวนนั้นมีการ์ตูนเรื่อง  POPEYE  THE  SAILOR  รวมอยู่ด้วย
                ขณะที่การผลิตหนังการ์ตูนกำลังเบ่งบาน  แต่ละสำนักต่างก็พยายามสร้างดาราการ์ตูนของตนออกมาให้ติดตลาด  โดยสอดใส่บุคลิกให้กับการ์ตูนของตน  จนเป็นที่ติดปากรู้จักกันดีในหมู่ประชาชน    Felix  the  Cat  เป็นดาราที่นิยมมากในช่วงทศวรรษที่  1920  แต่  Felix  the  Cat  ยังเป็นการ์ตูนใบ้อยู่  จนถึงยุคของราชาการ์ตูน  Walt  Disney
                Walt  Disney  เกิดที่เมือง  Kansas  ในปี  1901  ยุคที่หนังการ์ตูนกำลังได้รับความนิยม  เขาได้รับอิทธิพลจากรูปแบบของการ์ตูนที่แพร่หลายอยู่ในระยะนั้น  MICKEY  MOUSE  ที่เขาสร้างขึ้นมา  ก็มีส่วนละม้ายคล้ายคลึงกับ  Felix  the  Cat  ของ  Otto  Mesmer  วอล์ท  ดิสนีย์  เป็นคนกล้าได้กล้าเสีย  และกล้าลงทุนกับสิ่งใหม่ ๆ  ที่ท้าทาย  เขาสร้างภาพยนตร์การ์ตูนเสียงในฟิล์มเรื่องแรกของโลก  ในขณะที่มีอายุเพียง  27  ปี  ชื่อเรื่อง  Steamboat  Willie  และ  Mickey  Mouse ก็ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับภาพยนตร์เรื่องนี้
                อีก  4  ปีต่อมา  เขาก็เริ่มใช้สีอย่างเต็มที่กับภาพยนตร์การ์ตูนของเขาทุกเรื่อง  ความยิ่งใหญ่ของราชาการ์ตูนวอล์ท  ดิสนีย์  ต่อวงการ  animation  มีมากจนเขียนไม่หมด  รางวัล  1461  ชิ้นที่เขาได้รับตลอดชีวิตของเขา  คงจะเป็นพยานยืนยันได้ในเรื่องนี้
                การทำ  cel  animation  ก็เช่นเดียวกับการผลิตรายการสักเรื่องหนึ่ง  จะต้องมีขั้นวางแผน  ซึ่งเป็นขั้นที่ใช้ในการเรียบเรียงความคิดที่มีอยู่เขียนออกมาเป็นเรื่องเป็นราว  มีจุดเริ่มต้น  และจุดจบ
                เมื่อจับจุดเริ่มต้นของเรื่องได้แล้ว  ก็เดินเรื่องต่อไปโดยมีกระบวนการพัฒนาเรื่องอย่างสมเหตุ  สมผล  วิธีที่ดีที่สุด  คือทำ  storyboard  โดยเขียนสิ่งที่คิดลงไปในแผ่นการ์ดเล็ก ๆ  ดำเนินเรื่องไปเรื่อย ๆ  ตามความคิดที่วางไว้  วาดรูปประกอบไว้ข้าง ๆ  ที่ละภาพ ๆ  จนจบ
                จากนั้นก็เอาการ์ดทั้งหมดมาเรียงกันตรงหน้าตามเรื่องที่ตั้งใจจะลำดับ  แล้วตรวจดูความต่อเนื่องของเรื่อง  ว่าสมเหตุ  สมผลดีหรือไม่  ถ้ายังไม่เป็นที่พอใจก็ปรับใหม่  อาจใช้วิธีสลับการ์ดหรือเพิ่มภาพจนกว่าจะพอใจ  เมื่อเรียงลำดับได้ดีจนจบแล้ว  ขั้นต่อไปจึงเริ่มขยายรายละเอียดลงในการ์ดเพิ่มอีก  จนเป็นเรื่องที่สมบูรณ์
               
ส่วนขั้นตอนในการผลิตมีแนวทางดังนี้
                1. เขียน  layout  สำหรับฉากที่จะใช้เป็น  background  ลงบนแผ่นกระดาษ  ฉากนี้มีความสำคัญมาก  เพราะเรื่องจะดูสมจริงให้อารมณ์หรือไม่ก็อยู่ที่   background  แผ่นนี้  ซึ่งตัวการ์ตูนทุกตัวที่วาดลงบนแผ่นเซลลูลอยด์  จะต้องนำมาวางทาบเพื่อถ่ายทำต่อไป
                2. character  designer  ออกแบบตัวการ์ตูน  ซึ่งเป็นตัวละครในเรื่องทุกตัวอย่างหยาบ ๆ  ให้เห็นความสัมพันธ์ของขนาด  และสัดส่วนระหว่างตัวละครแต่ละตัว
                3. character  designer  ออกแบบบุคคลิกประจำตัว  ท่าทาง  อารมณ์  และการเคลื่อนไหวในอากัปกิริยาต่าง ๆ  ของตัวละครแต่ละตัวลงใน  model  sheet  เพื่อเป็นแบบให้กับทีมนักวาด  ซึ่งมีอยู่หลายคนให้ยึดถือเป็นแนวเดียวกันตลอดเรื่อง
                4. เมื่อมี  model  sheet  มี  background  layout  และมี  script  ในรูปของ  storyboard  แล้ว  ก็จะแจกงานให้กับนักวาด  (animator)  โดยมี  key  animator  ทำหน้าที่วางแนวทางแต่ละอากัปกิริยาของตัวการ์ตูนให้ก่อน  แล้วให้นักวาดคนอื่น ๆ  วาดการเคลื่อนไหวในระหว่างท่วงท่าเหล่านั้นต่อไป  เช่น  key  animator  วาดตัวการ์ตูนในท่านั่งรูปหนึ่ง  และท่ายืนอีกรูปหนึ่ง  แล้วมอบให้นักวาดฝีมือรองไปวาดให้เห็นการเคลื่อนไหวของแขนขาจากท่านั่งมาเป็นท่ายืน  หรือที่เรียกว่า  movement-in-between  ซึ่งเมื่อนำทั้งหมดมารวมกัน  ก็จะได้ภาพการเคลื่อนไหวของตัวการ์ตูนอย่างต่อเนื่อง  และราบเรียบ
                5. การวาดในขั้นต้น   เป็นการวาดอย่างหยาบ ๆ  เริ่มต้นด้วยการวาดท่าสุดท้ายของการเคลื่อนไหว  (extreme  of  motion)  ลงในกระดาษที่มีรูเจาะ  สำหรับคล้องใส่กระดาษวาดแบบเมื่อวาดเสร็จแล้ว  ก็เอาแผ่นที่สองซ้อนลงบนแผ่นแรก  แสงไฟใต้กระดาษวาดแบบ  จะช่วยให้ภาพปรากฎขึ้นมาอย่างชัดเจน  วาดตามรอยของแผ่นที่  1  จนเกือบหมด  ยกเว้นตำแหน่งของอวัยวะส่วนที่ต้องการให้เคลื่อนไหว  เช่น  แขนที่ปล่อยห้อยตามปกติจะยกขั้น  ก็วาดโดยให้แขนอยู่สูงกว่าตำแหน่งของแขนในแผ่นที่ 1  เล็กน้อย  ให้แขนเลื่อนขึ้นไปเรื่อย ๆ  ในแผ่นต่อ ๆ  ไปจนสุด  ซึ่งเมื่อนำไปถ่ายแล้วจะมองเห็นเหมือนแขนของการ์ตูนยกขึ้นได้  (วิธีเดียวกับ  animatoscope  ในยุคแรกที่ได้กล่าวมาแล้ว) 
                6. ขั้นวาดรายละเอียด  และตกแต่งให้ประณีตคมชัด  เรียกว่า  cleanup  ในขั้นนี้จะเห็นรายละเอียดทุกอย่าง  แม้แต่การแสดงออกทางสีหน้าของตัวการ์ตูน
                7. เมื่อตกแต่งแผ่น  cleanup  ทุกแผ่นจนเป็นที่พอใจแล้ว  ก็นำภาพทั้งหมดมาเช็คดูดโดยวิธีที่เรียกว่า  flipping  คือจัดภาพทั้งหมดที่มุมหนึ่ง  แล้วปล่อยให้ส่วนที่เหลือเลื่อนตกลงมาติดต่อกัน วิธีนี้จะตรวจเช็คการเคลื่อนไหวของตัวละคร ว่าราบเรียบดี  หรือกระตุกไม่ต่อเนื่องเท่าที่ควร
                8.เอาแผ่น  acetate  ใส  วางลงบนแผ่น  cleanup  ที่ละแผ่น  ลงหมึกตามรอยที่เห็น  ใส่สีทำความสะอาด  แล้วจึงส่งเข้าเครื่องถ่ายทำและบันทึกเสียงต่อไป

                - Photographic  animation
                Photographic  animation  หรือ  Photoanimation  คือ  เทคนิคการใช้ภาพนิ่งแต่อาศัยกล้องถ่ายให้ได้  camera  work  หลาย ๆ  อย่างเช่น  pan,  close-up,  zoom,  dissove,  fade,  การตัดภาพ  ฯลฯ  ถ่ายให้เป็นเรื่องที่มีการเคลื่อนไหว
                Walt  Disney  ใช้เทคนิคนี้ในฉากเปิดเรื่อง  พร้อมกับคำบรรยาย  และ  sound  effect  อยู่บ่อย ๆ  ตัวอย่างเช่น  ในฉากเปิดเรื่องของภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง  เป็นภาพทิวทัศน์ของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง  กล้องจะจับที่พระจันทร์ดวงกลางท้องฟ้า  แล้ว  pan  ลงมาที่ยอดเขา  เคลื่อนไปที่หลังคาบ้านที่สลับซับซ้อนในคืนเดือนหงายคืนหนึ่ง  กล้องค่อย ๆ  เลื่อนลงมาที่พื้นถนนทางเข้าหมู่บ้าน  แล้ว  zoom เข้าไปในบ้านหลังหนึ่ง  ซึ่งจะใช้เป็นจุดเริ่มต้นเรื่อง  ฉากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ดำเนินไปโดยไม่มีการตัด  แต่ไหลไปเรื่อย ๆ  โดยอาศัยกล้องจับบนภาพวาดแผ่นเดียว  เหมือนเป็นภาพทิวทัศน์ที่มองลงมาจากเฮลิคอปเตอร์  (panoramic  view)
                เทคนิค  photoanimation  เอาไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง  เช่น  เอาภาพเหตุการประวัติศาสตร์มาถ่ายด้วยเทคนิคนี้รวมกับศิลปวัตถุร่วมสมัยกัน  เพื่อให้ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์เรื่องนั้นดูมีชีวิตที่สมจริง  หรืออาจเอาสไลด์ฉายภาพขึ้นบนจอแล้วใช้  camera  motion   ดังกล่าวจับก็ได้  เทคนิคนี้จะมีประสิทธิภาพดีมาก  ถ้าทำด้วยความประณีตละเอียดอ่อน  ให้การเปลี่ยนฉาก  หรือมุมกล้องแต่ละครั้งนุ่มนวลที่สุด
                บริษัทแห่งหนึ่งในวอชิงตันคือ  Comcrops  สร้างภาพยนตร์สั้น ๆ  เกี่ยวกับอวัยวะต่าง ๆ  ของมนุษย์ขึ้นมาเรื่องหนึ่งจากสไลด์ขนาด  35 มม.  ทั้งหมด  สไลด์ขนาด  35  มม.  มีความกว้างพอที่จะใช้กล้อม  pan  ได้นานถึง  10  วินาที  ในอัตราที่ค่อนข้างเร็ว  เมื่อใช้เทคนิค  pan,  zoom  หรือตัดภาพ  ก็สามารถใช้ประกอบคำบรรยายเป็นเรื่องได้
                กระบวนการผลิตภาพยนตร์โดย  photographic  animation  จะเริ่มต้นขั้นแรกด้วยการผลิตเสียงก่อน  ไม่ว่าคำบรรยาย  บทสนทนา  ดนตรี  หรือ  sound  effect  จะบันทึกลงในแถบเสียงของฟิล์ม  แล้วนำข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับเสียงที่บันทึกนั้นไปแสดงไว้ใน  bar  sheet  ซึ่งช่วยให้มองเห็นรายละเอียดของเสียงที่บันทึกในฟิล์มเป็น  frame  ต่อ  frame  เลยทีเดียว
                ขั้นต่อไปจึงเป็นการเลือกภาพ  และเทคนิคการใช้กล้องจับภาพให้สอดคล้องกับเสียงที่บันทึก  frame  ต่อ  frame  แล้วนำมาแสดงลงใน  exposure  sheet  นอกจากนี้เพื่อให้ช่างกล้องเคลื่อนกล้องได้อย่างแม่นยำ  exposure  sheet  จะต้องมี  field  guide  เป็นตารางแสดงจุดที่กล้องจะจับภาพเป็นลำดับ ๆ  ไป  animator  หรือช่างกล้องจะใช้ทั้ง  bar  sheet  ซึ่งแสดงเสียงที่บันทึกกับ  exposure  sheet  ซึ่งแสดงภาพที่จะบันทึกคู่กับเสียง  frame  ต่อ  frame  เป็นคู่มือในการถ่ายทำ
                ในขั้นการถ่ายทำ  เคล็ดลับที่สำคัญคือการใช้หลัก  ‘slowing-in’  และ  ‘slowing-out’  เพื่อให้ภาพที่ออกมานุ่มนวลไม่กระตุก  ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนกล้องจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง  หรือจะ  pan  จะ  zoom  ก็ต้องใช้หลักการนี้
                Photographic  animation  เป็นเทคนิคการผลิตที่ใช้เวลาไม่น้อยไปกว่า  cel  animation  แต่ให้ผลงานดีมากถ้าใช้ศิลปะ  และความละเอียดอ่อนอย่างเต็มที่  บริษัทภาพยนตร์หลายแห่งมีชื่อเสียงในการผลิตภาพยนตร์ด้วยเทคนิคนี้โดยเฉพาะ  ส่วนใหญ่ถ่ายทำเรื่องราวจากโบราณวัตถุ  จิตรกรรมชั้นเอกที่มีอายุนับร้อยปี  ในฉากเปิดเรื่อง  (film  title)  บางครั้งถ้าแทรก  Photographic  animation  ลงไปในบางตอนของภาพยนตร์  ถือเป็นเทคนิคการคั่นรายการที่ดี  และให้อารมณ์ความรู้สึกพิเศษบางอย่างเช่น  ภาพยนตร์เรื่อง  New  York  Trip  of  Butch  และ  Cassidy  and  the  Sundance  Kid  ได้นำภาพถ่ายจำนวนหนึ่งมาแสดงด้วยเทคนิคนี้  เพื่อให้เห็นช่วงเวลาแห่งความสุขและความตื่นเต้นของเด็ก ๆ

                - Frame  by  Frame  Shooting
                วิธีนี้ต้องการกล้องถ่ายวิดีโอ  1  ตัว  พร้อมขาตั้ง  (Tripod)  โต๊ะเตี้ย  1  ตัว  ไฟ  1  หรือ  2  ดวง  เครื่องบันทึกวิดีโอเทป  (VTR)  1  ตัว  อาจมี  monitor  อีก  1  ตัว  เครื่องควบคุมเวลาอีก  1  ตัวด้วยก็ได้
                สมมติเราต้องการสอนให้เด็ก ๆ  รู้จักเส้นทางเดินเรืออของนักเดินเรือรุ่นแรก ๆ ของโลก  วาดแผนที่โลกขึ้นแผ่นหนึ่ง  เตรียมภาพถ่ายของ  โคลัมบัส  (Christopher  Columbus)  แมคเจลแลน  (Ferdinand  Magellan)  ฯลฯ  ภาพวาดรูปเรือสำเภาเล็ก ๆ  และกระดาษกาวตัดเป็นหัวลูกศรไว้จำนวนหนึ่ง ใช้ดินสอร่างเส้นทางเดินเรือของโคลัมบัสจากจุดเริ่มต้นจนถึงปลายทาง  แล้วแบ่งเส้นที่ร่างนั้นออกเป็นช่วงสั้น ๆ  เท่า ๆ กัน  เริ่มต้นด้วยการถ่ายภาพแผนที่เปล่า ๆ  สัก  3  วินาที  แล้วหยุดเทปจากนั้นเอารูปของโคลัมบัสติดไว้  ณ  จุดเริ่มต้นเดินทางของเขา  ตั้งเครื่องควบคุมเวลาให้เทปเดิน  2  วินาที  แล้วเอาหัวลูกศรแผ่นที่  1  ปะแทนตำแหน่งของเรือ  ขยับเรือเดินหน้าอีก  1  ช่วง  เดินกล้องอีก  2  วินาที  ปะลูกศรแผ่นที่  2  แทนเรือ  ขยับเรือต่อไปอีก  1  ก้าว  ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนเรือของโคลัมบัสไปถึงจุดสุดท้ายที่เขาค้นพบดินแดนใหม่        ใช้วิธีเดียวกันนี้กับเส้นทางของแมคเจลแลน  แต่เปลี่ยนหัวลูกศรเป็นสีอื่นที่แตกต่างกันออกไป  เมื่อถ่ายที่ละ  frame  เช่นนี้จนหมดแล้ว  กลับมาฉายใหม่อีกครั้ง  เราก็ได้  animation  แบบง่าย ๆ  แต่ใช้เป็นอุปกรณ์การสอนสำหรับเด็กได้ดี  เด็ก ๆ  จะจดจำติดตาว่าเรือของใครแล่นจากจุดไหนถึงไหนอย่างไร
                เทคนิคถ่ายทีละ  shot  เช่นนี้  นอกจากใช้ทำให้วัตถุเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งแล้วยังสามารถใช้เพื่อให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่างหรือขนาดได้ด้วย  บริษัทโฆษณาแห่งหนึ่งในกรุงนิวยอร์คเคยใช้เทคนิคนี้ออกแบบงานโฆษณาไวน์แดงยี่ห้อหนึ่ง  เริ่มต้นเป็นภาพขวดไวน์กำลังรินเหล้าไวน์สีแดงออกมาหยดหนึ่ง  เมื่อหยดถึงพื้นโต๊ะไวน์แดงหยดนี้ก็ค่อย ๆ  เปลี่ยนรูปร่างและขนาดจนกลายเป็นหยดเหล้าไวน์รูปหัวใจสีแดงใส  พร้อมกับตัวหนังสือคำว่า  ‘love’  สีแดง  ปรากฎขึ้นข้าง ๆ  จากนั้นจึงเป็นภาพเคลื่อนไหวของชายหญิงคู่หนึ่งกำลังจิบไวน์ด้วยกันอย่างดื่มด่ำ  โฆษณานี้ให้ความหมาย  และความรู้สึกได้ดี  โดยไม่ต้องใช้เสียงบรรยายเลย
                - Slide  animation
                Slide  animation  คือเทคนิคการทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้  โดยใช้เครื่องฉายหลาย ๆ  ตัวพร้อมกัน  จนดูคล้ายกับภาพยนตร์  ที่เรียกว่า  multi-image  presentation  มีคุณประโยชน์มากมายในเชิงธุรกิจ  การบันเทิง  และการสื่อสาร  มีข้อดีกว่าภาพยนตร์ตรงที่ผู้ผลิตมีอิสระที่จะเลือกช่วงจังหวะความเร็วช้าระหว่างภาพได้  เพื่อให้ได้อารมณ์ตามที่ต้องการจะเน้น  และยังสามารถปรับเปลี่ยนภาพ  slide  ได้โดยไม่ต้องรื้อหรือถ่ายใหม่ทั้งหมด
                ผู้เขียนเคยมีโอกาสดู  slide  presentation  ที่ไต้หวันครั้งหนึ่ง  เป็นเรื่องราวชีวประวัติ  และผลงานของประธานาธิบดีเจียงไคเช็ค  ผลิตโดยกรมประชาสัมพันธ์ของไต้หวัน  ได้ประจักษ์ว่า  multi-image  โดยใช้เครื่องฉายสไลด์ถึง  30  เครื่อง  จอเป็นรูปโค้งเหมือนจอภาพยนตร์ซีเนมาสโคป  การเปลี่ยนภาพและจังหวะเร็วช้าในการเปลี่ยนภาพในแต่ละจุดบนจอกว้างนั้นไม่เท่ากัน  ทำให้ผู้ดูตื่นตา  ตื่นใจ  ผู้ผลิตสามารถเล่นเทคนิค  และใส่ความคิดสร้างสรรค์ได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ  เมื่อประกอบกับ  Sound  effect  เข้าด้วยแล้ว  มีอิทธิพลที่ช่วยสร้างสรรค์ความรู้สึกทั้งเศร้าโศก  ระทึกใจ  ยิ่งใหญ่  ไปตามจุดมุ่งหมายของผู้ผลิตได้มาก  บริษัทห้างร้านต่าง ๆ  ก็นิยมใช้  Slide  multi-image  เป็นสื่อปฐมนิเทศแนะนำแขกที่มาเยือนให้รู้จักบริษัท
                - Computer  animation
                spot  โฆษณาในโทรทัศน์ที่ใช้  Special  effects  มาก ๆ  เกือบทั้งหมดสร้างขึ้นด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งมีประสิทธิภาพในการสร้าง  visual  effect  แต่ได้รับความสนใจและพัฒนาไปเร็วมาก  ระบบการทำงาน  คือใช้  computer  รวมกับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์บางอย่างในการบันทึกภาพแม่แบบที่เป็น  original  shape  เอาไว้ก่อน  จากนั้นใช้  effect  ต่าง ๆ  ทำให้ภาพแม่แบบนี้ม้วน  หรือกลิ้ง หรือบิดไปได้หลายแบบหลายทิศ  หลายทางตามโปรแกรมที่บรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์  จากนั้นจึงใช้คอมพิวเตอร์ระบายสี  จะใช้สีรวมกันหรือแยกกันออกก็ได้  เมื่อเลือกรูปแบบและสีจนเป็นที่พอใจแล้ว  ก็กดปุ่มบันทึกโปรแกรมทั้งหมดไว้แล้วกดปุ่มเล่นดูตั้งแต่ต้นจนจบ  จะดูกี่ครั้งก็ได้  จะเปลี่ยนแปลงอย่างไรอีกก็ได้  จนคิดว่าสมบูรณ์ที่สุดแล้วจึงสั่งดำเนินการออกมา
                computer  animation  เป็นวิธีเล่น  animation  ที่ใช้เวลาน้อยที่สุด  แต่ให้ผลที่ประทับใจ  และน่าทึ่งมาก  ทุกวันนี้รายการโทรทัศน์เกือบทุกประเภทต้องมี  computer  animation  เข้าไปช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้แก่รายการ  อนาคตของ   computer   animation   ยังจะไปอีกไกลโดยไม่มีที่สิ้นสุด

2. Animation  ที่ใช้มือเชิด  ได้แก่  หุ่น  (puppet),  ตัวหนัง  (shadow),  paper-cutout  และภาพที่ใช้เทคนิคพิเศษช่วยให้บางส่วนของภาพเคลื่อนไหวได้  เรียกว่า  trick-pattern  ต่างๆ  Animation  ประเภทนี้  จัดว่าเป็น  Three-dimensional  animation  เพราะสามารถเห็นเป็น  3  มิติ  คือมีความกว้าง  ความยาว  และความลึกของวัตถุ  เป็นรูปแบบของ  Animation  ที่ใครๆ  ก็สามารถลองทำเล่นได้  ไม่ต้องลงทุนมาก  และเหมาะที่จะนำไปใช้เป็นสื่อในการผลิตรายการสำหรับเด็กและรายการเพื่อการศึกษาทั่วไป


ข้อจำกัดของสื่อภาพเคลื่อนไหว  (Limitation)
                1. ลำดับขั้นในการนำเสนอ  การที่สื่อภาพเคลื่อนไหว  มีลำดับขั้นตอนการนำเสนอเป็นขั้นเป็นตอนอย่างต่อเนื่อง  ทำให้อาจเกิดการเลื่อมล้ำทางการเรียนรู้ของผู้เรียนได้  เพราะผู้เรียนบางคนไม่เข้าในบทเรียนในตอนกลาง ๆ  ของเนื้อหา  แต่อีกหลายคนกลับเกิดความเข้าในและต้องการที่จะเรียนรู้ต่อไปอีก  ทั้งนี้เนื่องจากผู้เรียนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน
                2. เนื่องจากวีดีโอหรือภาพยนตร์เป็นสื่อภาพเคลื่อนไหว  อาจไม่เหมาะที่จะนำมาใช้อธิบายบทเรียนที่มีรายละเอียดเป็นค่าทางสถิติต่าง ๆ  ซึ่งในกรณีนี้ควรใช้  กราฟ  แผนภูมิ  แผนภาพ  ในการนำเสนอแทน
                3. เป็นการยากที่จะทำความเข้าใจในเนื้อหา  เนื่องจากสารคดีหรือละครบางเรื่องค่อนข้างมีการนำเสนอที่ซับซ้อน  ซึ่งอาจทำให้ผู้เรียนหรือผู้ชมตีความหมายผิดไปจากความหมายที่ต้องการนำเสนอของผู้สร้างวีดีโอหรือภาพยนตร์
                4. ค่าใช้จ่ายสูง  ราคาของเครื่องฉายภาพยนตร์และค่าใช้จ่ายในการผลิตสูง  เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการใช้วีดีโอ  ซึ่งรวมทั้งราคาของจอและเครื่องเล่นแล้วก็ยังถูกกว่า  ทำให้สถาบันทางการศึกษาหันมานิยมใช้วีดีโอในการศึกษามากกว่าภาพยนตร์
                5. ความไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย  ส่วนใหญ่สื่อชนิดต่าง ๆ  เช่น  วีดีโอ  ภาพยนตร์  มักถูกจัดเก็บไว้ตามองค์กรกลางต่าง ๆ  ในท้องถิ่นมหาวิทยาลัย, หอสมุดศูนย์ฝึกอบรมต่าง ๆ  เมื่อจะใช้  ครูผู้สอนต้องกำหนดหัวข้อที่จะนำมาใช้ในการสอน  และทำหนังสือขอยืมสื่อทางองค์กรกลางจึงจะจัดส่งให้  ทำให้เป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับครูผู้สอน

การนำไปใช้ทางด้านการศึกษาและธุรกิจ  (Acceptance  of  Video) 

                1. การนำวีดีโอไปประยุกต์ใช้ในการศึกษา
                ปัจจุบันวีดีโอและภาพยนตร์ได้รับการพัฒนาขึ้นมาก  เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการนำเสนอด้วยสื่อภาพเคลื่อนไหว  ด้วยเหตุที่วีดีโอมีความสะดวกในการใช้งานมากกว่าภาพยนตร์  ค่าใช้จ่ายในการผลิตและการใช้งานที่ต่ำกว่าภาพยนตร์  การดูแลบำรุงรักษาไม่ซับซ้อน  ทำให้วีดีโอเป็นสื่อที่ถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างแพร่หลายกว่าภาพยนตร์
                ปี ค.ศ.  1990-1994  โรงเรียนต่าง ๆ  ได้นำวีดีโอมาใช้ในระบบการศึกษา  นำมาใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์  ศูนย์วิชาการสื่อการเรียนการสอนได้กำหนดตารางการแพร่ภาพวีดีโอเทป  หรือวีดีทัศน์เพื่อการศึกษาด้วยการส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิ้ล  หรือเส้นใยแก้วนำแสง  (Fiber  Optic)  ไปยังเครื่องรับสัญญาณในห้องเรียน  อีกทั้งยังสามารถรับและบันทึกวีดีโอทางการศึกษาหรือข่าวโทรทัศน์ได้จากแหล่งสัญญาณอื่น ๆ  ได้ด้วย

                2. วีดีโอแนะนำผลงานหรือหน่วยงาน  (Video  in  Corporations) 
                ในวงการธุรกิจ  นิยมนำชุดวีดีโอเทปมาใช้เป็นสื่อในการฝึกอบรมแทนการบรรยาย  เพื่อปูพื้นฐานความรู้ทั่วไป  แนะนำหน่วยงาน  ผลิตภัณฑ์ของหน่วยงาน  สามารถนำกลับไปชมที่บ้านได้  มีการผลิตวีดีโอเพื่อการศึกษามากมาย  ที่มีเนื้อหาตรงตามหลักสูตรการเรียนการสอนขั้นพื้นฐาน  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปศึกษาได้ที่บ้าน
                จากปัจจัยความต้องการของผู้ซื้อ  และเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้มีการพัฒนาจนถึงขั้นที่ผู้เรียนสามารถมีปฏิกิริยาตอบสนอง  หรือโต้ตอบ  กับสิ่งนั้น  ๆ  ได้  ชุดวีดีโอสำหรับใช้ในบริษัทใหญ่  มักจะใช้ขั้นตอนการผลิตที่มีมาตรฐานสูงกว่าชุดวีดีโอเพื่อการศึกษาที่ใช้ในโรงเรียน

ประโยชน์ของสื่อภาพเคลื่อนไหวในการเรียนการสอน  (Advantages)
                1. สามารถอธิบายหรือเปรียบเทียบพฤติกรรมที่มีความเคลื่อนไหวได้ชัดเจนกว่าใช้ภาพนิ่ง  เช่น  ใช้ในการอธิบายการผูกปมเชือก  หรือการใช้แกนหมุนในการปั้น
                2. ใช้สอนในสิ่งที่เป็นกระบวนการ  อย่างมีขั้นตอน  เช่นการทดลองในวิชาวิทยาศาสตร์
                3. เพื่อลดความเสี่ยงในการเรียนรู้จากเหตุการณ์จริง  ที่อาจเกิดอันตรายแก่ผู้เรียนได้  เช่น  การดูสุริยุปราคา, ภูเขาไฟระเบิด  หรือแนวรบของสงคราม 
                4. ใช้ร่วมกับการแสดงละคร  ซึ่งสามารถจำลองภาพเหตุการณ์จากประวัติศาสตร์และบุคคลสำคัญต่าง ๆ  มาใช้ในการศึกษาได้
                5. ใช้ในการเรียนรู้ทางด้านความถนัดและทักษะต่าง ๆ  จากผลการวิจัยพบว่า  ความชำนาญของผู้เรียน  จะสามารถเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้และฝึกหัดซ้ำบ่อย ๆ  ดังนั้นหากใช้สื่อภาพเคลื่อนไหวนี้ในการเรียน  ซึ่งสามารถใช้ได้บ่อยครั้งในเนื้อหาเดิม  ก็จะเกิดความชำนาญแก่ผู้เรียนขึ้นได้
6.            ใช้ช่วยสร้างความรู้สึกและอารมณ์  ความคิดแก่ผู้เรียน  วีดีโอและภาพยนตร์จะทำให้เกิดผลกระทบทางจิตใจ  ความนึกคิดแก่ผู้เรียนหรือผู้ชม  ช่วยสร้างอารมณ์  ความรู้สึกนึกคิดแก่ผู้เรียนในการเรียนการสอน  ทำให้เกิดประสิทธิผลทางการเรียนสูงขึ้นตามไปด้วย
7.            ใช้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดใหม่ ๆ  ละครบางเรื่องอาจทิ้งปมปัญหาต่าง ๆ ไว้ตอนท้ายของเรื่อง  ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียน  หรือผู้ชมได้คิดและถกปัญหานั้น ๆ  ตามความคิดของแต่ละคน
                8. เพื่อศึกษาและเกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมต่าง ๆ  ภาพยนตร์เรื่อง  The  Hunters,  The  Tribe  From  Man,  The  Nuer  and  Rever  of  Sand  เป็นภาพยนตร์ที่กล่าวถึงวิถีชีวิต  วัฒนธรรมต่าง ๆ  จึงเป็นการง่ายที่ผู้เรียนหรือผู้ชม  จะมีความรู้และเข้าใจในรายละเอียดของวัฒนธรรมนั้น ๆ
                9. ช่วยในการปูพื้นฐานความเข้าใจให้เหมือนกันหรือเท่า ๆ กัน  ผู้สอนสามารถนำภาพยนตร์เพื่อการศึกษามาใช้เป็นเครื่องมือช่วยสอนในการปูพื้นฐานของประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนในกลุ่มเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน  (Application)
                1. วีดีโอและฟิล์มภาพยนตร์  สามารถนำมาใช้เพื่อการศึกษาได้หลายกรณี  ช่วยให้การเรียนการสอนใช้เวลาน้อยลง  ใช้เป็นสื่อแทนการศึกษานอกสถานที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทัศนศึกษา  หรือศึกษาโครงสร้างระบบการจัดการองค์กรของหน่วยงานต่าง ๆ
                2. ใช้ในการปูพื้นฐานความรู้ให้แก่นักเรียน  อาจใช้แทนการสอนแบบบรรยายได้ในบางกรณีหรือมีการตั้งหัวข้อในการอภิปรายในการเรียนการสอนด้วย
                3. ชี้แนะแนวทางในการเรียน  บางกรณีอาจใช้หัวข้อที่สอดคล้องกันเนื้อหา  มาชี้แนะวัตถุประสงค์ในการเรียนร่วมกับสื่อภาพเคลื่อนไหว  และผู้เรียนก็สามารถอ่านได้ก่อนเรียน  ทำให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ  ได้ง่ายขึ้น  รวมทั้งยังช่วยส่งเสริมความสนใจในการอ่านของผู้เรียนด้วย
                4. สารคดี  (Documentary)  เป็นรูปแบบการนำเสนอเรื่องที่เป็นจริงหรือเหตุการณ์จริง  มีสาเหตุและผลของเหตุการณ์  มักใช้ในการนำเสนอเหตุการณ์ที่มีความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ  เช่น  วัฒนธรรม, ธรรมชาติ  และวิทยาการของศาสตร์ต่าง ๆ 
                5. ใช้ในการศึกษาเหตุการณ์ที่เป็นขั้นตอน  เช่นการทดลองต่าง ๆ  สามารถหยุดภาพเพื่ออธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจได้ในรายละเอียดของเนื้อหา  ซึ่งไม่สามารถหยุดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงได้  มักนำไปใช้กับการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นในด้านทักษะต่าง ๆ
                6. ช่วยให้ผู้เรียนกลุ่มเดียวกันมีพื้นฐานความรู้อยู่ในระดับเดียวกัน  มีพื้นฐานของการสื่อสารระหว่างบุคคลที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมตามหัวเรื่องนั้น ๆ  รวมทั้งเป็นเสมือนกระจกในการดูทักษะของผู้เรียนเอง  เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงให้ดีขึ้น  การนำเสนอแบบปลายเปิด  หรือการนำเสนอแบบมีคำถามก่อนจบ  โดยไม่มีการให้คำตอบของเหตุการณ์   ช่วยให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิดหาเหตุผล
                7.ใช้เป็นสื่อสำหรับแสดงผลของรายงานการทดลอง  การประเมินผลการทดลองต่าง ๆ  ของผู้เรียน  โดยนำวีดีโอหรือภาพยนตร์มาใช้แทนการรายงานผลแบบรูปเล่ม  หรือคำพูด  เพราะสามารถใช้ข้อมูลจากการวิจัย  Vjideodisc  CD-ROM  หรือสื่ออื่นๆ  มานำเสนอในรูปแบบวีดีโอได้

แนวทางการนำวีดีโอมาใช้ประโยชน์ขององค์กรต่าง ๆ
                -เพื่อศึกษาอบรมพนักงานใหม่
                -เพื่อฝึกทักษะในการทำงาน  ฝึกฝนทางด้านงานขาย
                -เพื่อพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในด้านงานบริการต่าง ๆ
                -เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่
                -ใช้เป็นมาตรฐานในการฝึกอบรมระหว่างสาขาของบริษัท

การเลือกใช้สื่อภาพเคลื่อนไหว  (Selecting  Motion  Media)   
                ศูนย์บริการสื่อ-เครื่องมือ  (Locating  Video  Materials)
                ตามศูนย์สื่อการเรียนการสอน  ซึ่งเป็นสถานที่จัดเก็บสื่อ  มักจะมีคู่มือการใช้สื่อและบัญชีรายชื่อสื่อไว้ให้บริการด้วย  ครูผู้สอนสามารถใช้บัญชีรายชื่อสื่อนี้สำหรับการค้นหาสื่อวีดีโอหรือภาพยนตร์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้  รวมทั้งศึกษาวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของสื่อแต่ละสื่อ  เพื่อให้ได้ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนที่วางแผนไว้  อย่างมีประสิทธิภาพ
                ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อวีดีโอ-ภาพยนตร์  เพื่อการศึกษามีใน  A-V  Online  บรรจุอยู่ในรูปแบบของ  CD-ROM  หรืออาจดูได้จากรายละเอียดของคู่มือสื่อแต่ละสื่อ



ผู้เรียนกับการผลิตวีดีโอการศึกษา
                นักเรียนและครู  สามารถผลิตวีดีโอได้อย่างง่ายดาย  โดยใช้กล้องวีดีโอขนาดเล็ก  หรือเนื้อเทปขนาด  1/2  นิ้ว  ซึ่งมีขั้นตอนการใช้กล้องที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก  สามารถบันทึกภาพและเสียงได้พร้อมกัน
                อย่างไรก็ดีได้มีการนำวีดีโอไปใช้ประโยชน์อื่นๆ  อีกมากมาย  เช่น
                -บันทึกการแสดงละคร  การร้องเพลงหรือบทกลอนของนักเรียน
                -สารคดีแนะนำนักเรียน  โรงเรียน  หรือท้องถิ่นต่าง ๆ
                -ใช้เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์เพลงพื้นบ้าน
                -ใช้แสดงการทดลองวิทยาศาสตร์  และลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์จริง
                -ใช้ฉายทัศนศึกษาซ้ำ  เพื่อให้ผู้เรียนที่ไม่ได้ไปทัศนศึกษาด้วย  ได้เกิดประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ
                -แนะนำอาชีพ  และธุรกิจของท้องถิ่น
                ห้องสมุดสื่อของโรงเรียนบางแห่งได้สร้างสตูดิโอขนาดเล็ก  เพื่อใช้ในการผลิตวีดีโอ  นักเรียนจำนวนไม่น้อยเลือกวีดีโอเป็นสื่อในการนำเสนอ  โดยการใช้เทคนิคการผลิตอย่างง่าย
                การวางแผน  เป็นสิ่งที่จำเป็นในการผลิตวีดีโอ  เหมือน ๆ  กับการวางแผนผลิตสื่ออื่น ๆ  ทั่วไป  ในกรณีการผลิตวีดีโอนิยมใช้  Story  Broad   เป็นตัวกำหนดแนวทางในการผลิต

ส่วนประกอบและหลักการทำงานของกล้องวีดีโอชนิดมือถือ  (Hand  Held  Cameras) 
                ปกติกล้องวีดีโอ  Hand  Held  Camera  จะมีไมโครโฟนชนิดทำงานควบคุมระดับสัญญาณเสียงแบบออโตเมติก  มีข้อจำกัดคือ  จะเก็บเสียงรบกวนที่เกิดในระยะขอบเขตการทำงานของไมโครโฟนเอาไว้หมด  เช่นเสียงรถ  ไอ  จาม  ฯลฯ  แต่หากต้องการบันทึกเสียงเฉพาะเพียงเสียงเดียว  อาจทำได้โดยนำสายสัญญาณเสียงมาต่อแยกนำไมโครโฟนไปไว้ใกล้ ๆ  กับเสียงนั้น
                ไมล์ขนาดเล็ก  (Lavaliere  or  Neck  Mike)  เหมาะสำหรับใช้เหน็บตามเนคไท  เสื้อ  เพื่อบันทึกเสียงคนพูดเพียงคนเดียว  ไมล์ตั้งโต๊ะจะมีขาตั้งสำหรับใช้ในการประชุม  หรือแยกจากขาตั้งใช้มือถือก็ได้  อาจใช้  Highly  Directional  Microphone  เพื่อตัดเสียงรบกวนจากการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนินเสียง

การตัดต่อลำดับภาพ  (Editing)
                ระบบตัดต่อมีมาตรฐานนั้นมีราคาสูงมาก  แต่ครูหรือนักเรียนก็สามารถทำการตัดต่อภาพได้ด้วยการใช้  Video  Camera  Records  (VCR)  2  เครื่อง  ต่อสายสัญญาณเข้าด้วยกัน  โดยให้  VCR 1  เป็นเครื่องเล่นซ้ำ  (Play  Back)  สำหรับส่งสัญญาณภาพและเสียงไปยัง  VCR 2  ซึ่งเป็นเครื่องบันทึก  (Recorder)  และยังสามารถใช้หลักการนี้ไปบันทึกภาพจากสื่อวีดีทัศน์อื่น ๆ  ได้อีก 
                เทคโนโลยีทางอิเล็กโทรนิค ช่วยสร้าง Special  Effect ใหม่ บรรจุลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Video  Card) ที่สามารถต่อสายสัญญาณเชื่อมโยงเข้ากับระบบตัดต่อภาพ  เพื่อสร้างสรรค์ลักษณะภาพแบบใหม่ๆ โดยใช้หลักการภาพซ้อนภาพ  เช่น   การทำภาพจากออก-ชัดเข้า  (Dissolve)  การทำไตเติ้ลต่าง ๆ  ใน  Video  Card  บางเครื่องสามารถแก้ไขสีของภาพได้ด้วย
                Special  Effect  จะทำงานโดยการแบ่งสัดส่วนของเส้นเทปในการบันทึกข้อมูล  แล้วเก็บไว้ในหน่วยความจำซึ่งจะสามารถแก้ไขได้  หากต้องการแก้ไขก่อนการบันทึกจริง 
                ถึงแม้ในการผลิตวีดีโอเพื่อการศึกษา  หรือแนะนำหน่วยงาน  ครูและนักเรียนสามารถทำการลำดับภาพ  และแก้ไขสีของภาพ  รวมทั้งสร้าง  Special  Effect  ต่าง ๆ ด้วย  Video  Card  นี้ได้  แต่เราก็ไม่สามารถผลิตวีดีโอหรือภาพยนตร์ได้ด้วย Video  Card  นี้โดยไม่ใช้  Studio  ในการถ่ายทำเลย 

ผู้ให้การสนับสนุนในการผลิตวีดีโอและภาพยนตร์  (Sponsored  Video  and  Film)
                มีบริษัทเอกชนหลายแห่ง  องค์กรต่าง ๆ  และหลาย ๆ  หน่วยงานของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนในการผลิตวีดีโอและภาพยนตร์  หน่วยงานดังกล่าวได้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะได้รับในการใช้สื่อภาพเคลื่อนไหวเพื่อการศึกษา  และยังเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีของหน่วยงานของตนออกสู่สาธรณะชนด้วย  แต่ในบางครั้งผู้สนับสนุนก็คาดหวังผลประโยชน์มากเกินไป  จนอาจทำให้วีดีโอและภาพยนตร์เพื่อการศึกษา  มีวัตถุประสงค์ที่เปลี่ยนไปเป็นงานโฆษณาสินค้าได้  ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจข้อตกลงต่าง ๆ   ในแนวทางการผลิตและประโยชน์ทางด้านการให้ความรู้  กับผู้สนับสนุนให้ชัดเจนเสียก่อน  โดยยึดหลักการที่ว่าเป็นการผลิตวีดีโอและภาพยนตร์  เพื่อเผยแพร่ความรู้  และมีการประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ให้การสนับสนุน

การเตรียมการใช้สื่อภาพเคลื่อนไหวในการเรียนการสอน  (Utilizing  Motion  Media) 
                - Preview  the  Materials
                ทดลองฉาย  และพิจารณาดูก่อนว่ามีเนื้อหาตามวัตถุประสงค์การเรียนการสอนหรือไม่  รวมทั้งให้แน่ใจว่าในเนื้อหาไม่มีสิ่งรบกวนเป้าหมายการเรียนรู้มากจนเกินไป
                - Prepare  the  Materials              
ตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ในการเรียนการสอน  และใช้ตารางกำหนดการแพร่ภาพให้เป็นประโยชน์  จัดสื่ออื่น ๆ  มาใช้ร่วมในการเรียนการสอน  เช่น  แบบฝึกหัด  แผนภูมิ  หนังสือ  ภาพ  ที่มีเนื้อหาเดียวกันกับการเรียนการสอนนั้น ๆ
                - Prepare the   Equipment
                จัดที่นั่ง  ควบคุมแสงสว่างและเสียงรบกวนให้เหมาะสมสะดวกในการเรียน
                - Prepare the  Learners
                จากการวิจัยเกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนการสอนนั้นกล่าวว่า  อัตราการเกิดการเรียนรู้จะสูงขึ้น  เมื่อผู้เรียนมีการเตรียมพร้อมและมีการตื่นตัวในการเรียน  ดังนั้นครูผู้สอนอาจตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจที่จะเรียนแล้วจึงทำการฉายวีดีโอ-ภาพยนตร์  การกระทำดังกล่าวช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดได้ด้วยตนเอง
                - Provide  the  Learning / Experience
                ขณะใช้วีดีโอ-ภาพยนตร์ในการเรียนการสอน  จะสังเกตเห็นปฏิกิริยาตอบสนองของผู้เรียนได้  ควรทำการบันทึกไว้เพื่อนำไปปรับปรุงใช้ในการเรียนครั้งต่อๆ  ไป

               


การมีส่วนร่วมของผู้เรียน  (Require  Learner  Participation)
                การเรียนรู้จากวีดีโอ  หรือภาพยนตร์  ควรจะมีกิจกรรมอื่น ๆ  เป็นกิจกรรมร่วมในการเรียนการสอน  เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดประสบการณ์ได้ฝึกฝนทักษะ  โดยอาจใช้เทคนิคการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ  เช่น 
                -การอภิปราย  คือการตั้งปัญหาและให้กลุ่มผู้เรียนคิดหาคำตอบ  เหตุผล  ทำให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนทัศนคติ  มุมมองในปัญหาซึ่งกันและกัน
                -การแสดง  คือการใช้บทบาทสมมติ  การ………  การกล่าวรายงานด้วยคำพูด
                -จัดโครงการต่าง ๆ  เช่น  จัดการทดลอง  นิทรรศการ  จัดทำแบบจำลอง  ภาพวาด  บทความ  หรือผลิตสื่ออื่น ๆ  โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ
                จากตัวอย่างข้างต้นจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถทราบแนวทางและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น  ผลที่ตามมาคือผลการเรียนการสอนที่ดีขึ้น  ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่สอนได้ดี

การประเมินผลการใช้วีดีโอและภาพยนตร์  (Appraising  Videos  and  Films)
                ก่อนการนำวีดีโอและฟิล์มไปใช้จริง    ควรมีการทดลองฉายและประเมินประสิทธิภาพของวีดีโอและฟิล์มนั้น ๆ  ก่อน  โดยใช้แบบฟอร์มหรือ  Check  List  เป็นเครื่องมือช่วยในการประเมินค่า  ซึ่งจะต้องทำการบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ  ได้แก่  ชื่อเรื่อง  ผู้ผลิต  ขอบเขตของเนื้อหา  ความยาว  (เวลา/นาที)  เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนสูงสุด  จุดประสงค์ในการเรียนรู้  รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ  เช่น  ความตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนการสอน  การใช้ภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่าย  ฯลฯ 

ปัญหาที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆของการใช้วิดีโอในการเรียนการสอน
Video Playback  เครื่องอัดและเล่นวิดีโอเทปปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก  บางครั้งอาจเกิดปัญหากับอุปกรณ์ขึ้น  ทำให้ไม่สามารถมองเห็นภาพได้  จึงควรทราบวิธีการติดตั้งเบื้องต้นเสียก่อน 
ในกรณีที่พบว่าเมื่อทำการเล่นวิดีโอเทปแล้วแต่ภาพไม่ปรากฏบนจอภาพให้ไปตรวจสอบที่
-ช่องในสัญญาณของจอภาพว่าตั้งไว้ที่ช่องสัญญาณวีดีโอหรือไม่
-สายสัญญาณต่อได้ถูกต้องหรือไม่  ชำรุดหรือไม่
-ตรวจสอบดูบริเวณสวิทช์ปิด-เปิดการทำงานของเครื่องเล่นวีดีโอ 
ในกรณีเกิดเสียงรบกวนหรือภาพเป็นจุดคล้ายๆเกร็ดหิมะ  (Snowy picture)  อาจเกิดจากหัวอ่านสัญญาณ  (หัวเทป) สกปรก  ต้องทำความสะอาดบริเวณนี้เสียก่อน  หากไม่หายควรส่งในช่างซ่อมบำรุงตรวจเช็ค  หรือหากเกิดอาการภาพล้ม  (มองไม่เห็นภาพ)  หรือไม่มีเสียงดังออกมา  อาจเป็นเพราะระบบที่บันทึกมัวนเทปมานั้นไม่ตรงกับระบบของเครื่องเล่นเทปให้ตรวจเช็คให้แน่ใจอีกครั้ง

Video Projector  คือ   เครื่องฉายภาพที่มีการทำงานโดยการฉายแสง 3 สี ได้แก่ เขียว,แดง,น้ำเงิน  ซึ่งมีทั้งชนิดหลอดแสงเดียวและชนิดฉายแสง 3 หลอด แยกสีกัน สามารถติดตั้งได้หลายแบบเช่น  ตั้งบนโต๊ะ  แขวนบนเพดาน หรือแม้กระทั้งใช้ฉายจากด้านหลังของจอภาพ
ในการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนจำนวนมากจำเป็นต้องฉายภาพบนจอขนาดใหญ่  จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องฉายภาพวีดีโอ  (Video Projector)  มาต่อเข้ากับเครื่องเล่นวิดีโอ  เครื่องเล่นวิดีโอ  เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์หรือกล้องวิดีโอ  เครื่องฉายภาพวิดีโอบางรุ่นสามารถรองรับสัญญาณภาพในระบบ VHS  ได้ บางรุ่นก็สามารถฉายภาพจากคอมพิวเตอร์ได้เลย

ในการผลิตสื่อภาพเคลื่อนไหว ควรที่จะต้องมีการวางแผนการทำงานอย่างละเอียด เพื่อประหยัดเวลาและงบประมาณ  การเขียนลำดับภาพร่างจะช่วยกำหนดขอบเขตของเนื้อหาในขั้นตอนการผลิตได้เป็นอย่างดี

การเขียนลำดับภาพร่าง (Storyboarding)
                ในประวัติวิชาของการสื่อสารหรืองานโสตทัศนศึกษา  เรามักได้ยิน  ได้ฟัง  คำกล่าวประโยคหนึ่งเสมอๆ  ที่ว่า
                “ภาพเพียงภาพเดียวมีค่าเท่ากับถ้อยคำนับพันๆ คำก็เห็นจะเป็นคำกล่าวที่นำมาใช้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเขียนลำดับภาพร่างหรือสตอรี่บอร์ดได้ดี  ดังที่เราได้พูดมาแต่ต้นแล้วว่า  วัตถุประสงค์สำคัญในการเขียนบทก็เพื่อเป็นการ  มองเห็นล่วงหน้า”  (previsualize)  ว่าภาพยนตร์ที่จะสร้างนั้นควรมีรูปลักษณ์เช่นไร  ดังนั้นวิธีที่จะ มองเห็น”  ให้ได้ใกล้เคียงที่สุด  ก็คือร่างเป็นภาพขึ้นมา  ผู้สร้างบางคนอาจใช้วิธีการร่างภาพสำคัญของแต่ละฉาก (scene)  ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องก็ได้  แต่ที่นิยมทำกันมักจะทำโดยละเอียดแต่ละช็อต (shot) มากกว่า  ประโยชน์ของลำดับภาพร่างนี้ก็คือ  ทำให้เราเห็นว่า
1.            ช็อตนั้น ๆ  ประกอบด้วยอะไรบ้าง
2.            จะมีการตัดจากช็อตนั้นไปยังช็อตใหม่อย่างไร
3.            ภาพยนตร์ทั้งเรื่องจะเคลื่อนไหวต่อเนื่องไปในลักษณะใด
                บางคนอาจคิดว่า  ก็ในเมื่อการร่างภาพนั้นจะต้องร่างหรือเขียนขึ้นตามข้อความที่ปรากฏในบทอยู่แล้ว  ไม่น่ามีความจำเป็นอะไร  แต่ผลดีของการเขียนลำดับภาพร่างก็คือ  สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติงานทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันได้  ทั้งนั้เพราะการตีความจากภาษาเขียนของผู้ปฏิบัติงานที่มีอยู่หลายกลุ่มหลายคนด้วยกัน  อาจจะผิดเพี้ยนไปบ้าง  ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหา  ต้องใช้เวลาที่ควรจะได้ผลิตงานมาทำความเข้าใจกันอีก  นอกจากนี้  การเขียนภาพร่างในช็อตที่มีการเคลื่อนไหวกล้องหลายลักษณะต่อเนื่องกัน  ภาพร่างจะช่วยบอกให้เรารู้ว่าการเคลื่อนไหวกล้องตามความคิดของเรากับความเป็นจริงนั้นสามารถไปด้วยกันได้หรือไม่  หากไม่สามารถทำได้จะได้แก้ไขปรับปรุงบทถ่ายทำเสียก่อน  เพื่อไม่ให้เสียเวลาและงบประมาณโดยไม่จำเป็น
                การเขียนลำดับภาพร่าง  ยังจำเป็นอย่างยิ่งในงานผลิตภาพยนตร์โฆษณา  ทั้งนี้เพราะภาพยนตร์โฆษณาต้องลงทุนสูงมาก (เมื่อเทียบกับความยาวของเรื่อง)  ผลงานต้องประณีตและตรงเป้าหมาย  ขณะเดียวกันก็ต้องผ่านการตรวจพิจารณาของ กบว.  นอกจากนี้ผู้จ้างหรือลงทุนในภาพยนตร์โฆษณาคือเจ้าของสินค้าและบริการ  ซึ่งอาจจะเข้าใจในเรื่องของภาพยนตร์เลยก็ได้  การให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ดูแลรับรองบทถ่ายทำซึ่งเป็นตัวอักษรอาจสร้างความเข้าใจได้ไม่เพียงพอ  หรือผู้ตรวจไม่มีเวลาอ่านโดยละเอียด  หรืออ่านแล้วเกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน  การทำลำดับภาพร่างจึงเป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด  และไม่เกิดปัญหาขึ้นภายหลังหรือหากจะเกิดปัญหาขึ้นจนได้  ก็ยังพอหาทางแก้ไขไม่ถึงกับต้องเผางานหรือโยนทิ้งให้สูญเปล่าและขาดทุน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ผลแบ่งกั้น (Partition) Set

จะทำงานอะไร? .......ระหว่างรอรับปริญญา